ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการกลืนต่อความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • โสภา ศรีโสภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการกลืนต่อความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลหนองบัวลำภูและเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีการกลืนลำบากก่อน และหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกลืน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาการกลืนลำบากที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง
โรงพยาบาลหนองบัวลำภู สุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 240 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
ตามช่วงเวลาที่ได้รับการรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความพร้อมหรือทักษะ
การกลืนตามแนวทางปฏิบัติและแบบประเมินความสามารถในการกลืน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน (Inferential Statistics Analysis) ใช้ Independent T-test

            ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาการกลืนลำบากมีทักษะการกลืน พบว่า ระยะเวลาที่สามารถกลืนได้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ภาวะแทรกซ้อน : Aspirate pneumonia มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีการกลืนลำบากก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการกลืน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001*) โปรแกรมส่งเสริมการกลืนต่อความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีการกลืนลำบาก ผ่านการประเมินความพร้อมในการกลืน การสาธิต การให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการสาธิตมุ่งปัญหาของผู้ป่วยและฝึกปฏิบัติในเรื่องการบริหารกล้ามเนื้อ ควบคุมริมฝีปากลิ้น และการฝึกกลืน โดยสหวิชาชีพและการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ รวมถึงกิจกรรมที่พยาบาลจัดให้และการช่วยเหลือประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อการฟื้นฟูสภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะกลืนลำบาก, โปรแกรมการส่งเสริมการกลืน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)