การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิตโดยใช้สถานีสุขภาพ และการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พัฒนาภรณ์ หาญคำภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิตโดยใช้สถานีสุขภาพ และการมีส่วนร่วมของชุมชน

            วิธีการศึกษา : วิจัยเชิงปฏิบัติการ เดือนตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้บริการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่หน่วยปฐมภูมิ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 คน ตัวแทนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ 4 คน และผู้ใช้บริการ คัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง จำนวน 68 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. แบบสอบถามการวิจัย 2. แบบบันทึกค่าความดันโลหิต 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ ทีมให้และผู้ใช้บริการ ดำเนินการ 3 ระยะ 1. เตรียมการ 2. ดำเนินการ 3. ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้ paired t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการศึกษา : สถานีสุขภาพ จัดตั้งขึ้นโดยชุมชนสนับสนุนการจัดการ เพิ่มการเข้าถึงและมีกระบวนการดูแลตรวจวัดและติดตาม ประเมินความเสี่ยง โดยประยุกต์ใช้แนวคิด 3 หมอ ร่วมกับการนำเทคโนโลยีสนับสนุนให้พฤติกรรมการจัดการตนเองเพิ่มขึ้น ส่งผลคุมความดันโลหิตได้ดี ผู้ให้และผู้รับบริการมีระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

            บทสรุป : ประสิทธิผลของสถานีสุขภาพ ส่งผลให้การควบคุมระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ สามารถประยุกต์ใช้ในการดูแลติดตามกลุ่มโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้

 

คำสำคัญ : สถานีสุขภาพ, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, การมีส่วนร่วมของชุมชน

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)