การประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) และระบบหยุดยาปฏิชีวนะอัตโนมัติโรงพยาบาลบรบือ
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การดื้อยาต้านจุลชีพเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เมื่อมีการเจ็บป่วยจากการติดเชื้ออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรงพยาบาลบรบือจึงได้มีการพัฒนาระบบการจัดการ
เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและระบบหยุดยาปฏิชีวนะอัตโนมัติ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานเบื้องต้นของการพัฒนาระบบการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ AMR ของ
โรงพยาบาลอย่างบูรณาการ โดยทำการวิจัยแบบ retrospective cohort study วิเคราะห์ข้อมูลของโรงพยาบาลบรบือ ย้อนหลังในช่วงเดือนมกราคม 2564 ถึง ธันวาคม 2565 ประเมินผลลัพธ์จากคะแนนการประเมินตนเองและอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในกระแสเลือด สัดส่วนการเกิดการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะรูปแบบฉีด พบว่า
โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาการจัดการเชื้อดื้อยาจุลชีพ AMR อย่างบูรณาการขั้น intermediate ในปี 2565 โดยสัดส่วนการเกิดการ
ติดเชื้อดื้อยาลดลงจาก ร้อยละ 13.89 เป็น 8.78 (P = 0.043) และจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ 8 ชนิด ในกระแสเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก ร้อยละ 49.86 เป็น 40.00 (P = 0.012) ปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดในผู้ป่วยใน (DDD ต่อ 100 วันนอน) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ gentamicin, streptomycin, Piperacillin/Tazobactam, clindamycin, ampiciilin, metronidazole, Ceftazidime (P = 0.005, 0.020, 0.039, 0.010, 0.009, 0.013 และ 0.014 ตามลำดับ) อัตราการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในกระแสเลือดไม่แตกต่างกันทางสถิติ
คำสำคัญ : การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ, เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ, ยาปฏิชีวนะ