การพัฒนาโปรแกรมชะลอไตเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17

ผู้แต่ง

  • ผาณิต เยี่ยมสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมชะลอไตเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์  ปัญหา อุปสรรค และความต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพไตเสื่อม ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมชะลอไตเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ระยะที่ 3 ประเมินผลการใช้โปรแกรมชะลอไตเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย ประชากรในการศึกษา ในครั้งนี้คือผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม ระยะที่ 3 ที่มีระดับ eGFR ≥ 30 และ ≤59 มิลลิเมตร/นาที/1.73 เมตร² คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 44 คน เป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมชะลอไตเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย และแบบบันทึกค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา สถิติเชิงพรรณา และการทดสอบ t-test

            ผลการวิจัยพบว่า พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการกิจกรรมให้ความรู้ ออกกำลังกายทำสมาธิ และบริการแพทย์แผนไทยได้แก่ การอบสมุนไพร การพอกยา การนวดฝ่าเท้า นวดตัว 2) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การให้ความรู้ ออกกำลังกาย ทำสมาธิบำบัด และได้รับหัตถการด้านการแพทย์แผนไทย การกดจุดสะท้อนเท้า ติดต่อกันจำนวน 12 สัปดาห์ จากสหวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และแพทย์แผนไทย 3) โปรแกรม สามารถเพิ่มอัตราการกรองไต และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม
ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโปรแกรมชะลอไตเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยสามารถฟื้นฟูไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้

 

คำสำคัญ : โปรแกรมชะลอไตเสื่อม, ไตเรื้อรัง, การแพทย์แผนไทย

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)