การพัฒนารูปแบบประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชไม่ป่วยซ้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รพ.สต.บ้านหนองบัวสันตุ ตำบลหนองบัวสันตุ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน รพ.สต.บ้านหนองบัวสันตุ ระยะเวลาดำเนินการ เดือน มกราคม 2564 – กันยายน 2565 ดำเนินการพัฒนาโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเวชไม่ป่วยซ้ำ จากการทบทวนการดูแลผู้ป่วย สัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจ คืนข้อมูลสู่ชุมชน นำเสนอข้อมูลสภาพปัญหาการดูแลในพื้นที่รับผิดชอบ ร่วมกันออกแบบแนวทางดำเนินงานติดตามสรุปผล ถอดบทเรียนทุก 2 เดือน เครื่องมือการวิจัย แบบประเมินสภาพจิตของผู้ป่วยจิตเวช แบบสัมภาษณ์คำถามปลายเปิด แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ : จำนวน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) ปรับการทำงานของงานสุขภาพจิตและจิตเวช โดยให้พยาบาลวิชาชีพประจำ รพ.สต. เป็นผู้รับผิดชอบหลัก (2) พัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพให้ผ่านการอบรมสาขาสุขภาพจิตและจิตเวชหลักสูตรระยะสั้น 3 วัน (3) พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนทั้งในระดับหมู่บ้านให้มีความรู้ ทักษะ การดูแล
ผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านอย่างมีประสิทธิภาพ (4) คืนข้อมูลให้กับชุมชนที่มีผู้ป่วยจิตเวชที่มีการกำเริบบ่อยๆ พร้อมกับเสวนา ประชุมระดมสมอง เพื่อร่วมกันออกแบบการดูแลเฝ้าระวังโดยชุมชนและกระตุ้นปรับเปลี่ยนทัศนคติของชุมชนให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน (5) ถอดบทเรียนเพื่อจัดทำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
(6) ชุมชนเป็นผู้ค้นหา คัดกรองผู้ป่วย ระบุปัญหาและความต้องการผู้ป่วย (7) ติดตามและประเมินผลใช้ระบบการติดต่อประสานงานหลายช่องทางปรับปรุงกิจกรรมการดำเนินงานประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ประเมินผลพบว่า (1) ประชาชนทั่วไปมีความรู้สึกเป็นเจ้าของมีศักยภาพในการค้นหาคัดกรองให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเกิดเครือข่ายงานสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน (2) ผู้ป่วยจิตเวช ในชุมชน ได้รับการค้นหา คัดกรอง เพื่อนำผู้ป่วยเข้ารับการดูแลรักษา โดยพยาบาลในพื้นที่และชุมชนมีส่วนร่วม (3) ด้านผลลัพธ์การดูแล พบผู้ป่วยจิตเวช 25 คน ที่ได้รับการดูแลที่บ้านภายหลังสิ้นสุดการดำเนินการพัฒนาระบบบริการส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนโดยสามารถดูแลตนเองได้ 24 คน ส่วนอีก 1 คน ไม่ดีขึ้น เนื่องจากดื่มสุรา
สูบบุหรี่แล้วมีอาการทางจิตกำเริบ 1 คน ไม่มีอุบัติการณ์ฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเองและผู้อื่น
คำสำคัญ : เฝ้าระวัง, จิตเวช, ชุมชน