การรักษากระดูก olecranon หัก โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดร้อยไหมแทนการมัดลวด
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ: กระดูก olecranon หักแบบมีการเคลื่อนของกระดูกมักจำเป็นต้องผ่าตัด โดยวิธีการมัดลวด (tension band wiring) หรือใช้แผ่นเหล็กดาม (plate fixation) เพื่อให้กระดูกติดและสามารถกลับไปใช้งานได้ปกติ แต่มักมีปัญหาจำเป็นต้องผ่าตัดซ้ำ เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนจากเกิดการนูนของเหล็กที่ผิวหนัง
วัตถุประสงค์: เสนอการผ่าตัดแบบการร้อยไหม (tension band suture) แทนการมัดลวด (tension band wiring) ในกรณีกระดูก olecranon หักแบบไม่แตกละเอียด และเปรียบเทียบทางคลินิกระหว่างการผ่าตัดร้อยไหมและการผ่าตัดมัดลวด
วิธีการดำเนินการ: เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ โดยนำเสนออธิบายเทคนิคการผ่าตัดการร้อยไหม ในการผ่าตัดกระดูก olecranon หัก และเปรียบเทียบ ระยะเวลาการผ่าตัด การเสียเลือดระหว่างผ่าตัด การเคลื่อนไหวของข้อศอกหลังการผ่าตัด 6 สัปดาห์ ระยะเวลากระดูกติด และอัตราการผ่าตัดซ้ำ ระหว่างการผ่าตัดร้อยไหมและการผ่าตัดมัดลวด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน สถิติ Mann-Whitney test สถิติทดสอบที และสถิติไคสแคว์
ผลการดำเนินการ: ระยะเวลาการผ่าตัด การเสียเลือดระหว่างผ่าตัด การเหยียดข้อศอกหลังการผ่าตัด 6 สัปดาห์ ระยะเวลากระดูกติด ทั้ง 2 วิธี ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การงอข้อศอกหลังการผ่าตัด 6 สัปดาห์ การผ่าตัดร้อยไหมดีกว่าการผ่าตัดมัดลวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งการผ่าตัดร้อยไหมไม่มีผู้ใดที่จำเป็นต้องผ่าตัดซ้ำ
สรุป: การผ่าตัดร้อยไหม สามารถรักษากระดูก olecranon หักที่ไม่แตกละเอียดแทนการผ่าตัดมัดลวดได้
คำสำคัญ: กระดูก olecranon หัก, ผ่าตัดร้อยไหม, ผ่าตัดมัดลวด