การประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กรณีศึกษา : อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • มานะ ภูมิพันธุ์ วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

                                                                                                              บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รูปแบบการวิจัยเป็นการประเมินผลโครงการ ตามแบบจำลองซิปโมเดล CIPP MODEL ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและผลผลิตจากโครงการ และติดตามการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม โดยเก็บข้อมูลจาก แบบประเมิน UCCARE การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 46 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลจากการวิจัย: 1) ด้านบริบท การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และการดำเนินโครงการ มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีการขับเคลื่อนทั้ง ส่วนราชการ ภาคประชาสังคมและภาคเอกชน ชุมชนสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ ด้วยกระบวนการเสริมพลัง สร้างคุณค่าให้กับคนทำงาน สะท้อนปัญหาและคืนข้อมูลสถานะสุขภาพให้ชุมชนรับทราบ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยเน้นให้ชุมชนและเครือข่ายต่างๆ ได้มีการออกแบบกิจกรรมด้วยชุมชนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสริมพลัง การสร้างสัมพันธภาพภายในทีม (TeamiBuilding) และการสื่อสาร
ประชาสัมพันธ์ รวมถึงให้ความสำคัญในการเป็นนักจัดกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่ของตนเอง 3) ด้านกระบวนการiคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลลัพธ์ของโครงการ มีการทำงานเป็นทีม ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายและประชาชน ชุมชนและภาคีมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ชื่นชม และให้คุณค่าซึ่งกันและกัน มีการแบ่งปัน ทรัพยากร และประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง 4) ด้านผลผลิต การดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ ประสบผลสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งในด้านศักยภาพในการวางแผน การดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของพื้นที่ โดยมีโครงการที่ดำเนินงานในพื้นที่ 5 โครงการ

           จากผลจากการประเมินสะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด สามารถนำไปแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้ส่วนราชการและเครือข่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

คำสำคัญ : พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ, การประเมินผล

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)