กระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูประจำชั้นในการป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษา อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ประเวช สังข์วงษ์ วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

                                                                                                               บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูประจำชั้นในการป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอ่างทอง การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะพัฒนากระบวนการและปฏิบัติการโดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Framework เพื่อหาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม และ 3) ระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประจำชั้นนักเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 34 คน ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 – เดือนมกราคม 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t – test และการวิเคราะห์
เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดการแพร่ระบาดของสารเสพติดในนักเรียนมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากครูประจำชั้นมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในดำเนินกิจกรรมมากขึ้น 2) รูปแบบกระบวนการพัฒนาภายใต้แนวคิด PRECEDE  Framework  พบว่า (1) ปัจจัยนำ ครูประจำชั้นมีนโยบาย แผนงาน กำหนดแนวทางและการดำเนินงานแก้ปัญหาการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจนส่งผลให้มีอัตราการแพร่ระบาดของสารเสพติดในโรงเรียนลดลง (2) ปัจจัยเอื้อ มีนโยบาย แผนงาน บทบาท แนวทางและการดำเนินงานแก้ปัญหาการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจนส่งผลให้มีอัตราการแพร่ระบาดของสารเสพติดในโรงเรียนลดลง (3) ปัจจัยเสริม สภาพแวดล้อมการติดต่อสื่อสารเพื่อติดต่อค้าขายยาเสพติดผ่าน Mobile Application สื่อสังคมออนไลน์ เช่น การใช้ Facebook Line ส่งผลให้นักเรียนเข้าถึงสารเสพติดได้ง่ายขึ้น 3) ผลลัพธ์การพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมของครูประจำชั้นในการป้องกันการแพร่ระบาดสารเสพติดในโรงเรียนหลังการทดลองครูประจำชั้นมีส่วนร่วมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับความพึงพอใจในการป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาหลังการทดลองอยู่ในระดับมาก การปฏิบัติกิจกรรมการมีส่วนร่วมหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของครูประจำชั้นที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันการแพร่ระบาดของสารเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาได้

          

คำสำคัญ :  การมีส่วนร่วม, การป้องกันการแพร่ระบาด, สารเสพติด

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)