This is an outdated version published on 2024-01-07. Read the most recent version.

การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • เนติยา แจ่มทิม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) ศึกษาประชากรผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย จำนวน 1,800 คน คำนวณได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 110 คน โดยใช้โปรแกรม power analysis ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% effect size 0.3 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2563 แบบสอบถามที่ใช้สร้างจากแนวคิดทฤษฎีสิ่งที่ต้องการจำเป็นของ Roth, 1977 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ1.แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ 2.แบบสอบถามปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ หลังจากนั้น

วิเคราะห์ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.50 มีอายุอยู่ในช่วง 60-65 ปี ร้อยละ 30.91 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 59.09 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 79.09 และไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 49.09 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 34.55 มีโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ 32.73 พบว่า 1. สภาพปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุ มีความต้องการและความสามารถในการดูแลตนเองด้านร่างกาย เรื่อง การอาบน้ำ การใช้ห้องส้วม การแต่งกาย การรับประทานอาหาร การลุกจากเตียง การเดิน/การทรงตัว และการรับประทานยา ในระดับมาก (Mean = 3.83 SD= 1.08) มีปัญหาในการดูแลตนเองด้านอารมณ์ และด้านคุณค่าในตนเอง ระดับปานกลาง (Mean = 2.65-3.10) 2. การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุประกอบด้วยศูนย์สุขภาพชุมชน ครอบครัวและชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและรัฐสวัสดิการ

สรุป: ผู้วิจัยเสนอแนะให้ผู้ดูแลดูแลในเรื่องการดูแลตนเองด้านอารมณ์ และด้านคุณค่าในตนเอง มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและภาคีเครือข่าย ในการวางแผน และดำเนินการร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุ

ข้อเสนอแนะ: ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการอบรมผู้ดูแล และควรจัดการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

ประวัติผู้แต่ง

เนติยา แจ่มทิม, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 

เอกสารอ้างอิง

National Statistical Office. Annual report 2014. Bangkok: National Statistical Office; 2015:

-77.

Suphanburi Provincial Public Health Office. Population and Housing Statistics Report, Suphanburi Province 2022.

กรมกิจการผู้สูงอายุ.สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย.กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ.2564.

Best, J. W. Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc. 1977.

Konkaew W.The Health Behavior of Elderly of Klongtumru Sub-District, Amphoe Mueang Chonburi [Master's thesis].Chonburi: BURAPHA University; 2557.

Pankong P. Health status of Elderly in tron Distriot, Uttaradit Province.J ournal of the Department of Medical Services.2560; 42(6):119-123.

Punnaraj W.Community Capacity Enhancement Model Toward Caring for the Eldery population. [Doctoral,s thesis].Khon Kaen: Khon Kaen University; 2552.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-01-04 — อัปเดตเมื่อ 2024-01-07

เวอร์ชัน