การศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชลบุรีและการประเมินผู้สูงอายุด้วยเครื่องมือ G8

ผู้แต่ง

  • Annop Kittiwarawut Chonburi Hospital

บทคัดย่อ

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 โดยปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญที่สูงตามอายุที่มากขึ้นคือโรคมะเร็ง ความท้าทายในการรักษาโรคมะเร็งในผู้สูงอายุเป็นเรื่องน่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องผลข้างเคียงจากการรักษา การประเมินผู้สูงอายุอาจนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือแบ่งแยกผู้ป่วยว่าแข็งแรงเหมาะสมต่อการรักษาหรือไม่ จุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะผู้ป่วยมะเร็งสูงอายุในโรงพยาบาลชลบุรีและทำการประเมินผู้สูงอายุด้วยเครื่องมือ G8

วิธีการวิจัย

            การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ไม่ใช่มะเร็งทางโลหิตวิทยามีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ที่ได้รับการรักษาในแผนกอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาโรงพยาบาลชลบุรี และประเมินผู้สูงอายุด้วยเครื่องมือ G8

ผลการศึกษา

            ผู้ป่วยมะเร็งสูงอายุทั้งหมด 243 ราย โดยคำนวณความชุกของผู้ป่วยมะเร็งสูงอายุคิดเป็น 36% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดที่ได้รับรักษาในช่วงเวลาที่ศึกษาวิจัย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 73.05 ปี โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 61.3%, ดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 21.60, ค่าพื้นที่ผิว (BSA) เฉลี่ย 1.56 กลุ่มผู้ป่วยส่วนมากมีขนาด BSA > 1.50 (61.7%), มะเร็งที่พบส่วนใหญ่คือมะเร็งลำไส้ใหญ่ (37.9%) รองลงมาคือมะเร็งปอด (36.2%) ระดับความแข็งแรงส่วนใหญ่ ECOG1 47.7%, ส่วนมากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วย, ระยะของโรคมะเร็งที่พบเมื่อแรกวินิจฉัยเป็นแพร่กระจาย 61.3% เป้าหมายของการรักษาส่วนมากจึงเป็นการรักษาเพื่อประคับประคอง (palliative aim) เมื่อประเมินผู้ป่วยด้วยเครื่องมือ G8 พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุกลุ่มอ่อนแอ 78.2% เมื่อวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่ใช้ประเมินและลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดพบว่า ปัจจัยที่ดี คือ G8 score กลุ่มผู้ป่วยแข็งแรงเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่มอ่อนแออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.012) สามารถแยกกลุ่มผู้ป่วยแข็งแรงออกจากกลุ่มอ่อนแอ เพื่อกำหนดขนาดเคมีบำบัดที่เหมาะสมได้ โดยพบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่าง คะแนน G8 และการลดขนาดเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.26, p < 0.0001)

สรุปผลการศึกษา

            ความชุกของผู้ป่วยมะเร็งสูงอายุในโรงพยาบาลชลบุรีเท่ากับ 36% ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอ่อนแอ เครื่องมือ G8 สามารถแยกผู้ป่วยแข็งแรงออกจากกลุ่มอ่อนแอ และมีผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ประวัติผู้แต่ง

Annop Kittiwarawut, Chonburi Hospital

Medical oncologist Department of internal medicine

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=38670

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 24 ตุลาคม 2562, www.ipsr.mahidol.ac.th

Data source United Nations, department of economic and social affaires population dynamics, world population prospects 2020, www.macrotrends.net

Smith BD, Smith GL, Hurria A, Hortobagyi GN, Buchholz TA. Buchholz, Future of cancer incidence in United States: burdens upon an aging, changing nation. J Clin Oncol. 2009;27(17):2758-65.

NCCN clinical practice guidelines in oncology, older adult oncology version 1, 2020, February 7, 2020.

Liuu E, Canouï-Poitrine F, Tournigand C, Laurent M, Caillet P, Le Thuaut A, et al.

Accuracy of the G-8 geriatric-oncology screening tool for identifying vulnerable elderly patients with cancer according to tumour site: the ELCAPA-02 study. J Geriatr Oncol. 2014;5(1):11-9.

Jemal A, Siegel R, Ward E, Hao Y, Xu J, Thun MJ. Cancer statistics, 2009. CA Cancer J Clin. 2009;59(4):225-49.

Siegel RL, Miller KD, Fuchs HE, Jemal A. Cancer statistics, 2022. CA Cancer J Clin. 2022;72(1):7-33.

Li Y, XU X, Dai M, Chen Y. Cancer in elderly in China: a nationwide population-based observational study. Cancer Communications. 2020;40(12):657-68.

Cheung KL, Chong MHM, Huang YJ, et al. Geriatric oncology in Singapore: current status and future directions. J Geriatr Oncol. 2020;11(1):1-7.

Hurria A, Mobile S, Gajra A, Klein H, Muss H, Chapman A, et al. Validation of a prediction tool for chemotherapy toxicity in older adults with cancer. J Clin Oncol. 2016;34(20):2366-71.

Anido-Herranz U, Fernandez-Nunez N, Afonso-Afonso J, Santome-Coute L, Medina-Colmenero A, Fernandez-Calvo O, et al. Chemotherapy management for unfit patients with metastatic castration-resistant prostate cancer. Clin Transl Oncol. 2019;(3):249-58.

Droz JP, Balducci L, Bolla M, Emberton M, Fitzpatrick JM, Joaniau, et al. Managment of prostate cancer in older men: recommendations of a working group of the international society of geriatric oncology. BJU Int. 2010;106(4):462-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30