This is an outdated version published on 2024-01-07. Read the most recent version.

ผลของโปรแกรมการสวดมนต์ทำนองสรภัญญะและการนั่งสมาธิต่อความเครียด อาการปวดประจำเดือน ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจ

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา เชาว์ไวย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สุวรัตน์ ธีระสุต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์
  • ธีรวัฒน์ พงศ์ภาณุพัฒน์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์
  • ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์
  • เครือวัลย์ ดิษเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มเปรียบเทียบวัดผลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสวดมนต์ทำนองสรภัญญะและการนั่งสมาธิแบบอานาปานสติต่อความเครียด อาการปวดประจำเดือน ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลเพศหญิงชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการสวดมนต์ทำนองสรภัญญะและการนั่งสมาธิ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียด แบบประเมินอาการปวดประจำเดือน และ แบบบันทึกความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบที (t-test)

ผลการศึกษา ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียด รายด้านพบว่า กลัวทำงานผิดพลาด ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงและรู้สึกเหนื่อยง่าย มีค่าลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  อาการปวดประจำเดือนลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  ความดันโลหิตซิสโตลิค และไดแอสโตลิค ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.05) อัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ สามารถนำโปรแกรมฯ นี้มาใช้ในกลุ่มที่มี ความเครียดด้านกลัวทำงานผิดพลาด  ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงและรู้สึกเหนื่อยง่าย อาการปวดประจำเดือน ความดันโลหิตสูง เพื่อลดอาการเหล่านี้ได้

ประวัติผู้แต่ง

สุพัตรา เชาว์ไวย, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คณะพยาบาลศาสตร์

สุวรัตน์ ธีระสุต, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์

คณะพยาบาลศาสตร์                          

ธีรวัฒน์ พงศ์ภาณุพัฒน์, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์

คณะพยาบาลศาสตร์

ศิริลักษณ์ สุวรรณวงษ์, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์

คณะพยาบาลศาสตร์

เครือวัลย์ ดิษเจริญ, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

เอกสารอ้างอิง

ธัญญารัตน์ จันทรเสนา. ความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การอุดมศึกษา)]. บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

; 2555.

Gordon AM, Mendes WB. A large-scale study of stress, emotions, and blood pressure

in daily life using a digital platform. The Proceedings of the National Academy of Sciences

; 118 : 1-7.

วิชยา เห็นแก้ว, จรวยพร ใจสิทธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในนักศึกษา

พยาบาลสตรี. วารสารพยาบาลทหารบก 2561 ; 19 : 299-310.

Pascoe MC, Hetrick SE, Parker AG. The impact of stress on students in secondary

school and higher education. Int J Adolesc Youth (2020) ; 25 : 104-12.

พรทิพย์ คคนานต์ดำรง, อรุณรัตน์ ปัทมโรจน์, ฉัตรภรณ์ มีอาจ, อัญชลี ชุ่มบัวทอง, ชัยยา น้อยนารถ

ณัฏฐ์พัชร์ วณิชย์กุล. ผลของการสวดมนต์แบบออกเสียงต่อความเครียด และ อัตราการหายใจของนักศึกษา

ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วาราสารวิชาการสาธารณสุข 2563 ; 29 : 822-9.

วิสุทธิ์ โนจิตต์, นภัสสร ยอดทองดี, วงเดือน เล็กสง่า, ปารวีร์ มั่นฟัก. ปัจจัยทำนายความเครียดและวิธีการ

จัดการความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ

เพชรบุรี 2563 ; 10 : 118-28.

Lazarus RS, Folkman S. Stress appraisal and coping. New York : Springer Publishing

Company ; 1984.

Gotink RA, Meijboom R, Vernooij MW, Smits M, Hunink MGM. 8-week mindfulness

based stress reduction induces brain changes similar to traditional long- term

meditation practice – A systematic review. Brain and Cognition 2016 ; 108 : 32-41.

Sharma H. Meditation: Process and effects. AYU 2015 ; 36 : 233-7.

รพีพร ฤาเดช, นงพิมล นิมิตอานันท์, ศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมสมาธิบำบัดตามวิถีพุทธต่อ

ความสุขในชีวิตผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี. วารสาร

พยาบาลทหารบก 2560 ; 19 : 289-98.

Alharbi KN, Baker OG (). Jean Watson’s middle range theory of human caring: A

critique. IJAMSR 2020 ; 3 : 1-14.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย : มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโร

ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ 2559 ; 6 : 26-58.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุลและคณะ. การสร้าแบบวัดความเครียดสวนปรุง. รายงานการวิจัยโรงพยาบาลสวน

ปรุงเชียงใหม่. 2540.

นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุล. แบบสอบถาม Oswestry (Version 1.0) ฉบับภาษาไทยสำหรับผู้ป่วย

ปวดหลัง. J Med Assoc Thai 2007 ; 90 : 1417-22.

ชลาทิพย์ ซื่อวัฒนะ, ชาญชัย พจมานวิพุธ, ธำรง หาญวงศ์. การศึกษาผลระยะสั้นของการทำสมาธิต่อการ

ลดความเครียดของนิสิตแพทย์ปี 4 และ ปี 5 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลนครพิงค์.

วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2558 ; 6 : 21-8.

Filippi ED, Escrichs A, Càmara E, Garrido C, Marins T, Sánchez‑Fibla M, et al.

Meditation‑Induced effects on whole‑brain structural and effective connectivity. Brain

Structure and Function 2022 ; 227 : 2087–2102.

Widyanata KAJ, Daryaswanti PI. Physical activity and meditation to reduce primary

Dysmenorrhea in adolescent. Advances in health sciences research volume 3. 8th

International Nursing Conference (pp.18-20) Indonesia : Atlantis Press ; 2017.

ผุสดี โตสวัสดิ์. การบำบัดโรคด้วยวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน. วารสารปรัชญาปริทรรศน์ 2562 ; 24 : 1-7.

จันทิมา ครุธดิลกานันท์. ผลการฝึกสมาธิโดยการนับลูกประคำ ต่อความเครียด อัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการหายใจและความดันโลหิต ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ทีขึ้นฝึกประสบการณ์บนหอผู้ป่วยใน

ครั้งแรก. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558 ; 24 : 479 - 85.

คณิน จินตนาปราโมทย์และพรชัย สิทธิศรัณย์กุล. สรีรวิทยาความเครียดจากการทำงานและการแก้ปัญหา

เมื่อเผชิญความเครียดในอาชีพแพทย์. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2562 ; 26 :112-23.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-01-04 — อัปเดตเมื่อ 2024-01-07

เวอร์ชัน