This is an outdated version published on 2023-06-01. Read the most recent version.

ฮีทสโตรก และการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศร้อนอื่นๆ

ผู้แต่ง

  • Sittichai Tantipasawasin Chonburi hospital
  • ภัทิรา ตันติภาสวศิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฐบูรพา

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น โลกเกิดภาวะอากาศร้อนจัดบ่อยขึ้นและมีช่วงเวลาที่นานขึ้น ทำให้พบอุบัติการณ์การเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากอากาศร้อนเพิ่มสูงขึ้น

การเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศร้อนเป็นความผิดปกติที่เกิดจากการเสียสมดุลของกลไกการควบคุมอุณหภูมิเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะแวดล้อมที่ความร้อนสูง สามารถจำแนกโดยเรียงลำดับจากความรุนแรงน้อยไปมากคือ ผดร้อนหรือผดเหงื่อ (Heat rash) การบวมแดด (Heat Edema) ตะคริว (Heat cramps) ลมแดด (Heat syncope) ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายตัวเฉียบพลัน (Rhadomyosis) เพลียแดด (Heat exhsustion) และโรคลมแดด (Heat Stroke) 

ผดร้อมหรือผดเหงื่อ (Heat Rash)

ผดร้อนหรือผดเหงื่อ มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กที่ผิวหนัง เกิดจากการระคายเคืองของผิวหนัง เมื่อผิวหนังมีเหงื่อออกมากในช่วงอากาศร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในภาวะแวดล้อมที่ร้อนชื้น อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ทำให้ท่อต่อมเหงื่อเกิดการอุดตัน พบบ่อยบริเวณคอ หน้าอก ใต้ราวนม รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับอื่นของแขนและขา การป้องกันผดร้อนหรือผดเหงื่อทำได้โดยพยายามทำงานในภาวะแวดล้อมที่เย็น มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ รักษาให้ตำแหน่งที่เกิดผื่นแดงได้ง่ายให้แห้งอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือน้ำมันทาผิว

การบวมแดด (Heat Edema)

การบวมแดดเป็นการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากความร้อนชนิดที่รุนแรงน้อย อาการแสดงพบการบวมตึงของมือและเท้า เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณผิวหนัง และมีสารน้ำคั่งในช่องว่างระหว่างเซลล์บริเวณแขนและขาจากการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน การบวมตึงที่เท้าอาจบวมขึ้นมาถึงข้อเท้า ส่วนใหญ่ไม่บวมสูงเกินหน้าแข้ง จะเกิดขึ้นใน 2-3 วันแรกที่อยู่ในภาวะอากาศร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่ได้ทำการปรับสภาพร่างกายให้พร้อมกับอากาศร้อน อาการบวมแดดจะดีขึ้นด้วยการหลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ทำกายบริหาร ยืดแขนยืดขาเป็นระยะ

ตะคริว (Heat Cramps)

ตะคริวเป็นการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเองที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ มักพบในนักกีฬา ผู้ใช้แรงงานที่ต้องทำงานหนัก หรือการออกกำลังกายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ในภาวะอากาศร้อน ทำให้เกิดการเสียเหงื่อเป็นปริมาณมาก ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการลดต่ำลงของปริมาณเกลือแร่ในกล้ามเนื้อ เกลือแร่ที่สำคัญคือ แมกนีเซียม และโพแทสเซียม เกิดขึ้นบ่อยที่กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง แขน หรือขา ตะคริวอาจเกิดจากการดื่มน้ำเย็นเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็วภายหลังจากการทำกิจกรรมจนเกิดความเหนื่อยล้าอย่างสุดขีด ในภาวะอากาศที่ร้อนจัด การเกิดตะคริวเป็นอาการเตือนสำคัญก่อนการเกิดการเพลียแดด

ลมแดด (Heat Syncope)

ลมแดดเป็นอาการเป็นลมแบบหนึ่งที่พบได้บ่อยเมื่อทำกิจกรรมอยู่กลางแดดเป็นระยะเวลานาน อาการแสดงได้แก่อาการวิงเวียนศีรษะ การรับรู้ถึงสมดุลและสถานที่เปลี่ยนแปลงไป รู้สึกเหมือนหัวหมุน หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม เป็นลมหมดสติชั่วคราว เนื่องจากเกิดความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างฉับพลันภายหลังจากการเปลี่ยนท่าจากท่านอนหรือท่านั่ง มาเป็นท่ายืนอย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่กลางแดดเป็นเวลานาน สาเหตุจากการขยายของหลอดเลือดที่ผิวหนัง ทำให้ปริมาตรเลือดสัมพัทธ์ในระบบไหลเวียนโลหิตลดลง ทำให้ปริมาณเลือดที่สูบฉีดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดลมแดดคือภาวะขาดน้ำ และขาดการเตรียมปรับตัวปรับสภาพร่างกายก่อนทำกิจกรรมกลางแจ้ง และการค่อยๆ ลดความเหนื่อยจากการออกกำลังกายลง

กล้ามเนื้อลายสลายตัวเฉียบพลัน (Rhadomyosis)

การเกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อลายเฉียบพลันจากการทำกิจกรรม ในภาวะอากาศที่ร้อนจัดต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นภาวะที่พบได้น้อยในเวชปฏิบัติทั่วไป อาการแสดงของกล้ามเนื้อลายสลายตัวเฉียบพลันได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อ เกิดตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความทนทานในการทำกิจกรรมลดลง อิเล็กโทรไลต์ โปรตีน และสารประกอบอื่นจำนวนมากที่อยู่ภายในเซลล์ที่เกิดสลายตัวถูกปล่อยเข้าสู่กระแสโลหิต ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ ชัก และทำอันตรายต่อไต ทำให้ไตเกิดความเสียหาย ค่าระดับซีรั่มคีเอทินิน ฟอสโฟไคเนส สูงขึ้นอย่างมาก พบภาวะมัยโอโกลบินยูเรีย โปรตีนมัยโอโกลบินของกล้ามเนื้อในปัสสาวะ ปัสสาวะมีสีดำเหมือนน้ำโคคา โคล่า การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้หยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ทุกชนิด ดื่มน้ำมากๆ และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษาทางการแพทย์

เพลียแดด (Heat exhaustion)

การเพลียแดดเป็นอาการหมดเรี่ยวแรงที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสอากาศที่ร้อนจัดและมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่เป็นปริมาณมากจากการเสียเหงื่อมากขณะทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และการพร่องเกลือแร่ หัวใจสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆลดลง พบมากในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคความดันสูง และผู้ใช้แรงงานที่ทำงานกลางแจ้ง หรือในภาวะอากาศร้อน ทำให้อุณหภูมิแกนกายเพิ่มสูงขึ้นกว่า 38 องศาเซลเซียส (100.4°F) แต่ไม่เกิน 40.5 องศาเซลเซียส (104.9°F) โดยไม่พบความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทส่วนควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย อาการแสดงของการเพลียแดด ได้แก่ อาการปวดศีรษะ คลื่นใส้ เวียนศรีษะ อ่อนแรง กระสับกระส่าย กระหายน้ำ เหงื่อออกมาก ปัสสาวะน้อยลง หัวใจเต้นเร็ว อาจพบเกิดตะคริว และภาวะขาดน้ำร่วมด้วย

โรคลมแดด (Heat Stroke)

ฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องจากความร้อนที่รุนแรงที่สุด เป็นภาวะที่อุณหภูมิแกนกายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียสภายใน10-15 นาที จากการที่อยู่ในภาวะแวดล้อมที่ร้อนจัด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถรักษาดุลความร้อนให้อุณหภูมิแกนกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ สาเหตุจากกลไกการระบายความร้อนล้มเหลว ส่งผลเสียต่อระบบประสาท หัวใจ และไต ฮีทสโตรกสามารถก่อให้เกิดความพิการถาวร หรือเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 10 อาการและอาการแสดงของฮีทสโตรก ได้แก่ อุณหภูมิแกนกายสูงกว่า 40.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอาการหลักของฮีทสโตรก ระดับความรู้สึกตัวหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง  เช่น เกิดความสับสน กระสับกระส่าย พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง หงุดหงิดฉุนเฉียว เพ้อ ชัก และไม่รู้สึกตัว การขับเหงื่อเปลี่ยนแปลง ปกติในภาวะอากาศร้อน เหงื่อจะออกมาก แต่ในผู้ป่วยฮีทสโตรกผิวหนังจะรู้สึกร้อนแต่แห้ง หรือชื้นเพียงเล็กน้อ คลื่นไส้และอาเจียน ผิวแดง หายใจเร็วแต่ตื้น หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ

 

ประวัติผู้แต่ง

Sittichai Tantipasawasin, Chonburi hospital

chairman of oral and maxillofacial surgery department

ภัทิรา ตันติภาสวศิน, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฐบูรพา

ศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

เอกสารอ้างอิง

BARROW WM, CLARK AK. Heat-Related Illnesses. Am Fam Physician.1998; 58(3):749-56.

Yankelson L, Sadeh B, Gershovitz L. Life-threatening events during endurance sports: is heat stroke more prevalent than arrhythmic death? J Am Coll Cardiol 2014; 64:463–9.

Centers for Disease Control and Prevention HEAT STRESS

https://www.cdc.gov/niosh/topics/heatstress/default.html

Shimazaki. Pathogenesis of heat stroke. 2nd ed. Tokyo: Health; 2017.

Bouchama A, Knochel.PJ. Heat Stroke. N Engl J Med. 2002; 346(25):1978-88. https://www.nejm.org/doi/10.1056/NEJMra011089?url_ver=Z39.88-2003&rfr_id=ori:rid:crossref.org&rfr_dat=cr_pub%20%200pubmed. doi: 10.1056/NEJMra011089.

Epstein Y, Yanovich R. Heat stroke. N Engl J Med 2019; 380:2449-59.

Hifumi T, Kondo Y, Shimizu K, Miyake Y. Heat stroke. J Intensive Care 2018; 22 (6):30.https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29850022/ doi: 10.1186/s40560-018-0298-4.eCollection 2018.

Hifumi T, Kondo Y, Shimazaki J, Oda Y, Shiraishi S, Wakasugi M,et al. Prognostic significance of disseminated intravascular coagulation in patients with heat stroke in a nationwide registry. J Crit Care. 2017; 44:306–11.

Kushimoto S, Yamanouchi S, Endo T, Sato T, Nomura R, Fujita M, et al. Body temperature abnormalities in non-neurological critically ill patients: a review of the literature. J Intensive Care. 2014; 2:14.

Miyake Y. Pathophysiology of heat illness: thermoregulation, risk factors, and indicators of aggravation. Japan Med Assoc J. 2013; 56:167–73.

Leon LR, Helwig BG. Heat stroke: role of the systemic inflammatory response. J Appl Physiol 2010;109:1980-8.

Lim CL, Mackinnon LT. The roles of exercise-induced immune system disturbances in the pathology of heat stroke: the dual pathway model of heat stroke. Sports Med. 2006; 36:39–64.

Huisse MG, Pease S, Hurtado-Nedelec M, Arnaud B, Malaquin C, Wolff M, et al. Leukocyte activation: the link between inflammation and coagulation during heatstroke. A study of patients during the 2003 heat wave in Paris. Crit Care Med. 2008; 36:2288–95.

Tong HS, Tang YQ, Chen Y, Qiu JM, Wen Q, Su L. Early elevated HMGB1 level predicting the outcome in exertional heatstroke. J Trauma. 2011; 71:808–14.

Deschamps A, Levy RD, Cosio MG, Marliss EB, Magder S. Effect of saline infusion on body temperature and endurance during heavy exercise. J Appl Physiol. 1989; 66:2799–804. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2745343/ doi: 10.1152/jappl.1989.66.6.2799

Hassanein T, Razack A, Gavaler J, Van Thiel DH. Heatstroke: its clinical and pathological presentation with particular attention to the liver. Am J Gastroenterol.1992;87:1382-9.

Bross MH, Nash BT, Carlton FB. Heat emergencies. Am Fam Physician. 1994; 50:389-96.

Minson CT, Wladkowski SL, Cardell AF, Pawelczyk JA, Kenney WL. Age alters the cardiovascular response to direct passive heating. J Appl Physiol. 1998; 84:1323-32.

Miles M, Kenneth G. The Cardiovascular System in Heat Stroke. CJC Open 2021;4(2):158-63. https://www.cjcopen.ca/article/S2589-790X(21)00271-7/fulltext p 158-63. doi: 10.1016/j.cjco.2021.10.002

Bouchama A, Dehbi M, Mohamed G, et al. Prognostic factors in heat wave related deaths: a meta-analysis. Arch Intern Med. 2007; 167:2170-6.

Wang J-C, Chien W-C, ChuID P, Chung C-H, Lin CY, TsaiID S-H The association between heat stroke and subsequent cardiovascular diseases. PLOS ONE. 2019; 14(2): e0211386. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0211386. doi:/10.1371/journal.pone.0211386

Kenney WL, Morgan AL, Farquhar WB, et al. Decreased active vasodilator sensitivity in aged skin. Am J Physiol 1997; 272(4 Pt 2): H1609-14.

Berenson GS, Burch GE. The response of patients with congestive heart failure to a rapid elevation in atmospheric temperature and humidity. Am J Med Sci 1952;223:45-53.

Bathini T, Thongprayoon C, Petnak T. Circulatory failure among hospitalizations for heatstroke in the United States. Medicines (Basel). 2020; 7:32.

Akhtar MJ, al-Nozha M, al-Harthi S, Nouh MS. Elecเtrocardiographic abnormalities in patients with heat stroke. Chest 1993; 104:411-4.

Mimish L. Electrocardiographic findings in heat stroke and exhaustion: a study on Makkah pilgrims. J Saudi Heart Assoc 2012; 24:35-9.

al-Harthi SS, Nouh MS, al-Arfaj H, et al. Non-invasive evaluation of cardiac abnormalities in heat stroke pilgrims. Int J Cardiol 1992; 37:151-4.

Pease S, Bouadma L, Kermarrec N, et al. Early organ dysfunction course, cooling time and outcome in classic heatstroke. Intensive Care Med 2009; 35:1454-8.

Hausfater P, Doumenc B, Chopin S, et al. Elevation of cardiac troponin I during non-exertional heat-related illnesses in the context of a heatwave. Crit Care 2010; 14: R99.

Chen WT, Lin CH, Hsieh MH, Huang CY, Yeh JS. Stress-induced cardiomyopathy caused by heat stroke. Ann Emerg Med. 2012; 60: 63-6.

Sprung CL. Hemodynamic alterations of heat stroke in the elderly. Chest 1979; 75:362-6.

Kaiser R, Le Tertre A, Schwartz J, et al. The effect of the 1995 heat wave in Chicago on all-cause and cause-specific mortality. Am J Public Health 2007;97(suppl 1): S158-62.

Tan W, Herzlich BC, Funaro R, Koutelos K, Pagala M, Amaladevi B, et al. Rhabdomyolysis and myoglobinuric acute renal failure associated with classic heat stroke. South Med J. 1995; 88:1065-8.

Smith JE. Cooling methods used in the treatment of exertional heat illness. Br J Sports Med 2005, 39:503-7

Casa DJ, McDermott BP, Lee EC, et al. Cold water immersion: the gold standard for exertional heatstroke treatment. Exerc Sport Sci Rev. 2007; 35:141-9.

Costrini A. Emergency treatment of exertional heatstroke and comparison of whole body cooling techniques.Med Sci Sports Exerc.1990;22:15-8.

Roberts WO. Managing heatstroke: on-site cooling. Physician Sports med. 1992;20:17-28.

Lee-Chiong TL, Stitt JT. Heatstroke and other heat-related illnesses. The maladies of summer. Postgrad Med. 1995; 98:26-36.

Bross MH, Nash BT, Carlton FB. Heat emergencies. Am Fam Physician.1994; 50:389-96.

Broessner G, Beer R, Franz G, Lackner P, Engelhard K, Brenneis C, et al. Case report: severe heat stroke with multiple organ dysfunction – a novel intravascular treatment approach. Crit Care 2005; 9: R498-R5.

Schmutzhard E, Engelhardt K, Beer R, Brossner G, Pfausler B, Spiss H, et al. Safety and efficacy of a novel intravascular cooling device to control body temperature in neurologic intensive care patients: a prospective pilot study. Crit Care Med. 2002; 30:2481-8

Marion DW: Controlled normothermia in neurologic intensive care. Crit Care Med 2004, 32:S43-S45

Diringer MN. Treatment of fever in the neurologic intensive care unit with a catheter-based heat exchange system. Crit Care Med. 2004; 32:559-564

Walker JS, Hogan DE: Heat emergencies. In Emergency Medicine: A Comprehensive Study Guide, Section 15. Edited by Tintinalli JE, Kelen GD, Stapczynski S. American College of Emergency Physicians. 2004:1183-1189

Tek D, Olshaker JS. Heat illness. Emerg Med Clin North Am 1992;10: 299-310.

Rublee C, Dresser C, Giudice C, Lemery J, Cecilia So. Evidence-Based Heatstroke Management in the Emergency Department Western Journal of Emergency Medicine. 2021; 22(2): p 186-95. http://escholarship.org/uc/uciem_westjem DOI: 10.5811/westjem.2020.11.49007

Alzeer AH, el-Hazmi MA, Warsy AS, Ansari ZA, Yrkendi MS. Serum enzymes in heat stroke: prognostic implication. Clin Chem. 1997;43:1182-7.

Nylen ES, Al Arifi A, Becker KL, Snider RH, Alzeer A. Effect of classic heatstroke on procalcitonin. Crit Care Med. 1997;25:1362-5

Epstein Y, Sohar E, Shapiro Y. Exertional heatstroke: a preventable condition. Isr J Med Sci.1995; 31:454-62.

Roberts WO. Determining a “do not start” temperature for a marathon on the basis of adverse outcomes. Med Sci Sports Exerc 2010; 42: 226–32.

Kim JH, Malhotra R, Chiampas G, et al. Cardiac arrest during long-distance running races. N Engl J Med 2012; 366:130–40.

Armstrong LE, Epstein Y, Greenleaf JE, Haymes EM, Hubbard RW, Roberts WO, et al. American College of Sports Medicine position stand. Heat and cold illnesses during distance running. Med Sci Sports Exerc 1996; 28: i–x.

Tek D, Olshaker JS. Heat illness. Emerg Med Clin North Am.1992; 10:299-310.

Squire DL. Heat illness. Fluid and electrolyte issues for pediatric and adolescent athletes. Pediatr Clin North Am. 1990; 37:1085-109.

Dehbi M, Baturcam E, Eldali A, et al. Hsp-72, a candidate prognostic indicator of heatstroke. Cell Stress Chaperones 2010; 15:593-603.

Tsai YC, Lam KK, Peng YJ, Lee YM, Yang CY, Tsai YJ, Yen MH, Cheng PY. Heat shock protein 70 and AMP-activated protein kinase contribute to 17- DMAG-dependent protection against heat stroke. J Cell Mol Med. 2016;20: 1889–97.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-01

เวอร์ชัน