This is an outdated version published on 2024-08-31. Read the most recent version.

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เขตอำเภอเมืองชลบุรี

No

ผู้แต่ง

  • โสรยา วงศ์วิไล โรงพยาบาลชลบุรี
  • สิรินทร เลิศคูพินิจ โรงพยาบาลชลบุรี
  • รัสนา เลิศรุ่งชัยสกุล โรงพยาบาลชลบุรี
  • สุพรรณี วิชกูล โรงพยาบาลชลบุรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 134 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยภายในบุคคล แบบวัดเจตคติ ความรู้ การปฏิบัติ การสนับสนุนจากครอบครัว ความร่วมมือของผู้สูงอายุและครอบครัว การได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการประสานการทำงานกับผู้จัดระบบการดูแลระยะยาวในการดูแลผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Univariate quartile regression analysis และ Multivariate quartile regression analysis ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติงานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 8.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.51) โดยด้านที่มีค่าคะแนนสูงที่สุดคือด้านการออกกำลังกาย (ค่าเฉลี่ย 8.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.49) และด้านที่มีค่าคะแนนน้อยที่สุดคือด้านการขับถ่าย (ค่าเฉลี่ย 7.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.59) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานภาพสมรส จำนวนผู้สูงอายุที่ดูแล การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและความร่วมมือของผู้สูงอายุและครอบครัว (95% CI: 0.53 -11.29, 95% CI: -2.08 - -0.35, 95% CI: -2.08 - -0.35, 95% CI: 0.23 - 1.82 และ P value 0.032, 0.006, 0.001, 0.012ตามลำดับ)

จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรจัดสัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุที่มอบหมายให้ผู้ช่วยเหลือดูแล ส่งเสริมให้มีการเสริมพลังอำนาจเพื่อให้เกิดความร่วมมือของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุของผู้สูงอายุและครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ช่วยเหลือที่ให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

คำสำคัญ : ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ, การดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ประวัติผู้แต่ง

โสรยา วงศ์วิไล, โรงพยาบาลชลบุรี

เวชศาสตร์ครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

สิรินทร เลิศคูพินิจ, โรงพยาบาลชลบุรี

กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน

รัสนา เลิศรุ่งชัยสกุล, โรงพยาบาลชลบุรี

กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน

สุพรรณี วิชกูล, โรงพยาบาลชลบุรี

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

Chonburi Provincial Public Health Office. Report of 2nd health government evaluation 2022 Health Area 6. Chonburi: Chonburi Provincial Public Health Office, Depaetment of Stragetegy; 2022. (in Thai)

Chonburi Provincial Public Health Office. Report of 1st health government evaluation 2023 Health Area 6. Chonburi: Chonburi Provincial Public Health Office, Depaetment of Stragetegy; 2023. (in Thai)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สรุประบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และการสนับสนุนงบประมาณปี 2559 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/fund_ltc03.pdf

Hfocus. วิจัยเสนอ 6 ข้อ พัฒนาระบบ LTC ระเบียบใช้เงินต้องชัด-ขยายครอบคลุมทุกสิทธิไม่เฉพาะแค่บัตรทอง 2561 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2018/10/16485

Muenhor C, Poonpol S. Factors associated with the caregivers, role in caring for the elderly in Nakhon Phanom Province. Nakhon Phanom University Journal [Internet]. 2016 [cited 2017 Apr 5];6(1):79-86. Available form: https://www.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/download/53359/44293 (in Thai)

Kumsom C, Lagampanhttps S, Boonyamalik P. Factors influencing caring practices for dependent older adults in the long term care system: Roi Et Province. Thai Red Cross Nursing Journal. 2020;12:194-207.

Tepin W. Bio-social factors associated with geriatric health care behavior by geriatric caregivers. Bangkok: Graduate school of Srinakarinwirot University; 2010. (in Thai)

Nampan J, Auemaneekul N, Kalampakorn S. Factors influencing job performance among trained care-givers for caring dependent elderly in Bangkok. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2020;28(3):43-22.

McLeroy K, Daniel B, Allan S, Glanz K. An ecological perspective on health promotion programs. Health Education Quarterly [Internet]. 1988 [cited 2017 Mar 21];15(4):351-77. Available from: https://www.academia.edu/170661/An_Ecological_Perspective_on_ Health_Promotion_Programs

ปราโมทย์ ประสาทกุล, จงจิตต์ ฤทธิรงค์. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 64 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=40101

สำนักงานวิจัยและพัฒนาคนด้านสุขภาพ. อาชีพนักบริบาลในการดูแลระยะยาว (Long-term care : LTC) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hrdo.org/wp-content/uploads/2021/07/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-8-Long-term-care-_new-edit.pdf

Bureau of Health Promotion. Manual of 70 hours training for elderly caregiver [Internet]. Bangkok: National Buddha Press; 2013 [cited 2017 Mar 21]. Available form: http://hp.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=419. (inThai)

กรรณิการ์ ศุภชัย. Ecological Model: โมเดลการจัดกระทำปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/apnj/article/download/120509/91988/312970

Wasana S. Factors associated with health promotion behaviors of the elderly in Ban Hong Subdistrict Municipality, Ban Hong District, Lamphun Province. Chiang Mai: Graduate school of Chiang Mai Rajabhat University; 2017. (in Thai)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

เวอร์ชัน