การศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชน : กรณีศึกษาอําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ศุภพัฒน์ ทศรฐ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, การเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิต, กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชน : กรณีศึกษาอําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตอําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตอําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และจํานวนสมาชิกในครอบครัว โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม เรื่อง คุณภาพชีวิตของประชาชน ในเขตอําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที ค่าสถิติเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.70 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี ร้อยละ 25.40 อยู่ในสถานภาพสมรส ร้อยละ 66 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 40.80 มีอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 44.10 มีรายได้ต่อเดือน 5,001 - 15,000 บาท ร้อยละ 47.10 และมีจํานวนสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ 3 - 4 คน ร้อยละ 57.90 คุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.46, SD. = 0.48) เมื่อจําแนกเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 3.56, SD. = 0.66) รองลงมา คือ คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม (Mean = 3.50, SD. = 0.50) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (Mean = 3.43, SD. = 0.69) และคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย (Mean = 3.35, SD. = 0.49) ตามลําดับ ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตอําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ประชาชนที่มี สถานภาพสมรส และจํานวนสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะการวิจัย ภาครัฐควรให้ความสําคัญในส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในชุมชนเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27