ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลสุขภาพตนเองของชาวปักษ์ใต้ : กรณีศึกษา บ้านภูศีรษะคชสาร จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • มานพ กาเลี้ยง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสงขลา

บทคัดย่อ

                   การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองที่ดำรงอยู่ในชุมชน และกระบวนการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองของชาวปักษ์ใต้ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ดำเนินการในระหว่างเดือนธันวาคม ๒๕๔๗ ถึงกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารต่าง ๆ ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การเยี่ยมบ้าน การเข้าร่วมกิจกรรมการดูแล สุขภาพตนเองและการรักษาของหมอพื้นบ้านในพื้นที่ที่ศึกษา การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน ๑๘ คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยการจัด หมวดหมู่ตามวัตถุประสงค์ จากนั้นจึงวิเคราะห์ด้วยหลักตรรกะเทียบเคียงแนวคิด ทฤษฎี ตามบริบท

                   การศึกษาพบว่า ชาวบ้านมีศักยภาพและทางเลือกที่หลากหลายในการดูแลรักษาสุขภาพตนเองทั้งในระดับปัจเจกบุคคล/ครอบครัว/ชุมชน เมื่อเจ็บไข้เล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถพึ่งตนเองได้โดยการดูแลกันเองใน ครัวเรือน หากไม่สามารถรักษาได้เอง ก็พร้อมที่จะพึ่งพาผู้ชำนาญการในชุมชนหรืออาศัยสถานบริการ สาธารณสุขของรัฐที่อยู่ใกล้เคียง ชาวบ้านสามารถประยุกต์ใช้ทั้งภูมิปัญญาดั้งเดิมและภูมิปัญญาสมัยใหม่ได้ อย่างกลมกลืน โดยไม่ปฏิเสธด้านใดด้านหนึ่งอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ หากมองในภาพรวมเชิงระบบพบว่า ชาวบ้านมีทางเลือกที่หลากหลายในการดูแลรักษาสุขภาพ ได้แก่ ระบบการดูแลรักษาสุขภาพในครัวเรือนและชุมชน ระบบการแพทย์พื้นบ้านในชุมชน ระบบการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ และระบบการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ช่วยให้ชุมชนสามารถแสวงหาแนวทางในการดูแล รักษาสุขภาพได้อย่างหลากหลายและเหมาะสม ประกอบด้วย ความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุก ความสามารถในการปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง และวิธีคิดแบบพึ่งตนเองภายใต้บริบททางสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง