การประเมินผลและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนางานสาธารณสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สุนันทา กาญจนพงศ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินผล, สาธารณสุข, จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

จังหวัดชายแดนภาคใต้มีขอบเขตการดำเนินสาธารณสุขในพื้นที่นี้ประกอบด้วย งานอนามัยแม่และเด็ก งาน สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค งานป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ การลดอัตราอุบัติการณ์ของโรคประจำถิ่น การพัฒนา คุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ซึ่งการวิจัยประเมินผลครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินตามนโยบายและเป็นปัญหาที่สำคัญของชายแดนใต้คือด้านอนามัยแม่และ เด็ก และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน ซึ่งยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่และสูง ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทยถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวชี้วัดในการดำเนินการในยุทธศาสตร์ การพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตาม นโยบาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 105 คน และอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 798 คน ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และกลุ่มผู้บริหาร จำนวน 9 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้รับการ ประเมินด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถาม การประเมินผลการดำเนินงาน จำนวน 23 ข้อ รวมทั้งการ อภิปรายกลุ่ม ผลการดำเนินตัวชี้วัดตามนโยบายรวบรวมจากฐานข้อมูล HDC ส่วนกลุ่มผู้บริหารได้รับการ สัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนา ในขณะที่การเปรียบเทียบผลการดำเนินตัวชี้วัดตาม นโยบายใช้สถิติ Dependent t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิด เห็นของอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อปัจจัยนำเข้า ผลผลิต กระบวนการ และบริบทเชิงคุณภาพ ของการดำเนินงาน ด้านอนามัยแม่และเด็กและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนอยู่ในระดับมาก แต่ผลลัพธ์การดำเนินการของปีงบประมาณ 2565 และ 2566 พบว่า ค่าเฉลี่ยความครอบคลุมการได้รับวัคซีนแต่ละ ชนิดครบตามเกณฑ์ในเด็กอายุครบ 1-5 ปีลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างยังมี ความเห็นตรงกันในประเด็นปัจจัยนำเข้า ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านบริบท ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงาน ซึ่งผู้บริหารให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนานโยบาย ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ และระบบกลไกในการดำเนิน งานให้สอดคล้องกับปัจจัยข้างต้น ผลการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่ การเสนอนโยบายให้กับหน่วยงานทีเกี ่ ่ยวข้องเพื่อพัฒนา กระบวนการทำงานให้การดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน มีประสิทธิผล

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์ประสานการปฏิบัติที 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ พ.ศ. 2563–2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 8 ธ.ค.2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.isoc5.net/files/strategy_plan/(สมบูรณ์)ยุทธศาสตร์พัฒนา%20ศอ.บต.ปี % 2063.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรี ในประเทศไทยใน 17 จังหวัดของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2563.

Hudson B, David H, Stephen P. Policy failure and the policy-implementation gap: can policy support programs help? Policy Design and Practice 2019;2(1):1-14.

Stern E. Philosophies and types of evaluation research. In: Descy P, Tessaring M, editors. The foundations of evaluation and impact research. Luxembourg: Office for Official Publications of the European Communities; 2004. p. 9-50.

Hakan K, Seval F. CIPP evaluation model scale: development, reliability and validity. Procedia-Social and Behavioral Sciences 2011;15:592-9.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้น เมื่อ 8 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://apps.who.int/ iris/bitstream/handle/10665/258734/978924156 4052-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

จิตรานันท์ กุลทนันท์, วันเพ็ญ ชูนวล, สรณ สุวรรณเรืองศรี, ธารินันท์ ลีลาทิวานนท์. ปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมงาน อนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: เขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2565;42(1):5-12.

อีระฟาน หะยีอีแต, ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ. รูปแบบการส่ง เสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี จังหวัดยะลา. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 2563;10(20): 137–46.

ประเวศ หมีดเส็น, มูฮัมหมัดฟาห์มี ตาเละ, รุวัยดา บุญเทียม. การมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไรต่อการแก้ ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2565;11(5):R40-51.

Hajiali I, Kessi AMF, Budiandriani B, Prihatin E, Sufri MM. Determination of work motivation, leadership style, employee competence on job satisfaction and employee performance. Golden Ratio of Human Resource Management 2022;2(1):57-69.

Singh D, Cumming R, Negin J. Acceptability and trust of community health workers offering maternal and newborn health education in rural Uganda. Health Education Research 2015;30(6):947-58.

ซำซูดิน ดายะ, นิรัชรา ลิลละฮ์กุล, เจษฎากร โนอินทร์, นุรอัยนี มาหามัด. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลัง อำนาจในผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อรับบริการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณี ศึกษาจังหวัดยะลา. วารสารกรมการแพทย์ 2562;44(1): 113-8.

Aburayya A, Alshurideh M, Albqaeen A, Alawadhi D, Ayadeh I. An investigation of factors affecting patients waiting time in primary health care centers: An assessment study in Dubai. Management Science Letters 2020; 10(6):1265-76.

Afrizal SH, et al. Evaluation of integrated antenatal care implementation in primary health care: a study from an urban area in Indonesia. Journal of Integrated Care 2020;28(2):99-117.

สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์, สุวิช ธรรมปาโล, สมคิด เพชรชาตรี, อาอิซะฮ์ มูซอ. ปัจจัยความสำเร็จต่อการปฏิบัติงานสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรคทีเป็นเลิศของสถานบริการสาธารณสุขพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(2):263-72.

รุสนา ดอแม็ง, ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ. ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ ปกครองในการนำเด็กอายุ 0-5 ปีรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน โรคพื้นฐานของจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(2);224-35.

ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ยามิละห์ ยะยือรี, นิซูไรดา นิมุ, ซารีนะฮ์ ระนี. หนึ่งทศวรรษงานวิจัยด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคชายแดนใต้: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็น ระบบ. วารสารเภสัชกรรมไทย 2563;12(1):207-15.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ