การยอมรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • กษมา นับถือดี หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) วิชาเอกการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ยุวนุช สัตยสมบูรณ์ ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุคนธา คงศีล ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาธิป ศีลบุตร ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การยอมรับ, วัคซีน, ไข้หวัดใหญ่, หญิงตั้งครรภ์, การระบาดโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การฉีดวัคซีนป้ องกันไข้หวัดใหญ่มีประโยชน์สำหรับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีความเสี่ยงต่อโรครุนแรงเมื่อ เจ็บป่ วย การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินอัตราการยอมรับการฉีดวัคซีนป้ องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการฉีดวัคซีนป้ องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ ในจังหวัด นนทบุรี ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ สัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 396 คน ที่มาคลินิกตรวจครรภ์ จาก 3 โรงพยาบาล คือโรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง ระหว่าง เดือนมิถุนายน - สิงหาคม พ.ศ. 2563 เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามแบบให้ตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ พรรณนา ไคร์สแควร์ และการถดถอยพหุโลจิสติก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุ เฉลี่ย 26.6±6.6 ปี อายุครรภ์ 28-42 สัปดาห์ขึ้นไปร้อยละ 56.1 อัตราการยอมรับการฉีดวัคซีนป้ องกันโรคไข้หวัด ใหญ่ ร้อยละ 61.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับยอมรับการฉีดวัคซีนป้ องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ คือ ประวัติการฉีดวัคซีนมาก่อนตั้งครรภ์นี้ (adjusted odd ratio (AOR)=2.75, 95%CI=1.71-4.42) การรับรู้ประโยชน์ (AOR=1.84, 95%CI=1.06-3.22) การรับรู้อุปสรรค (AOR=2.49, 95%CI=1.52-4.06) สมาชิกครอบครัว แนะนำ (AOR=1.78, 95%CI=1.01 -3.14) และการรับรู้นโยบาย (AOR =1.79, 95%CI=1.10-2.90) จากผล การวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหารโรงพยาบาลหามาตรการเพิ่มการยอมรับวัคซีนป้ องกันโรค ไข้หวัดใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์ มุ่งที่การสื่อสารนโยบายและประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้ องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้สตรี และสมาชิกในครอบครัวรับรู้เพิ่มมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World health organization. Influenza (seasonal) [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 12]. Available from: https:// www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/influenza-(seasonal)

Simmerman JM, Chittaganpitch M, Levy J, Chantra S, Maloney S, Uyeki T, et al. Incidence,seasonality and mortality associated with influenza pneumonia in Thailand:2005–2008. PLoS One 2009;4(11):e7776.

World Health Organization. Vaccines against influenza WHO position paper. Weekly Epidemiological Record [Internet]. 2012 [cited 2020 May 1];87(47):461-6. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/ 10665/241993

Chaw L, Kamigaki T, Burmaa A, Urtnasan C, Ishiin Od, Nyamaa G, et al. Burden of influenza and respiratory syncytial virus infection in pregnant women and infants under 6 months in Mongolia: a prospective cohort study. PLoS One 2016;11:1-17.

Owusu JT, Prapasiri P, Ditsungnoen D, Leetongin G, Yoocharoen P, Rattanayot J, et al. Seasonal influenza vaccine coverage among high-risk populations in Thailand, 2010-2012. Vaccine 2015;33:742-7.

สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ. สาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติและคณะอนุกรรมการ [อินทอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อ 6 ก.ค. 2561]. แหล่ง ข้อมูล: http://nvi.ddc.moph.go.th/attach/e-book/update%20file/executive

กรมควบคุมโรคและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://1ab.in/Bah

Glanz K, Rimer BK. Viswanath K, editors. Health behavior: theory, research, and practice. 5th ed. Owens Lake, CA: John Wiley & Sons; 2015.

Kaoiean S, Kittikraisak W, Suntarattiwong P, Ditsungnoen D, Phadungkiatwatana P, Srisantiroj N, et al. Predictors for influenza vaccination among Thai pregnant woman: the role of physicians in increasing vaccine uptake. Influenza Other Respir Viruses 2019;13:582-92.

กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://1ab.in/BlL

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลกและใน ประเทศไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Wang R, Liu M, Liu J. The association between infuenza vaccination and COVID-19 and its outcomes: a systematic review and Meta-analysis of observational studies. Vaccines (Basel) 2021;9(5):529.

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 2562] แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/s_report.php?source=monitor

Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 10th ed. Singapore: John Wiley & Sons; 2013.

Ditsungnoen D, Greenbaum A, Praphasiri P, Dawood FS, Thompson MG, Yoocharoen P, et al. Knowledge, attitudes and beliefs related to seasonal influenza vaccine among pregnant women in Thailand. Vaccine 2016;34: 2141-6.

ชิษณุ พันธุ์เจริญ, สุธีรา ฉัตรเพริดพราย, ธันยวีร์ ภูธนกิจ. คู่มือวัคซีน 2015 และประเด็นในการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพรินท์; 2558.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Wang R, Tao L, Han N, Liu J, Yuan C. Deng L, et al. Acceptance of seasonal infuenza vaccination and associated factors among pregnant women in the context of COVID-19 pandemic in China: a multi-center cross-sectional study based on health belief model. BMC Pregnancy Childbirth 2021;21:745.

ทีรนุช ลี้วงศ์ตระกูล, ญดา คุนผลิน, ธรรมสินธ์ อิงวิยะ, สุรสิทธิ์ ชัยทองวงศ์วัฒนา. การยอมรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจในคลินิกฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology 2017;25:75-82.

ธวัช บุญนวม, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, สุธรรม นันทมงคลชัย, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. การยอมรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลศิริราช. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2561;48:127-36.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2