The Effectiveness of Acupuncture for Pain Relief in Knee Osteoarthritis Patients in Khaokho Hospital, Phetchabun Province - การฝังเข็มรักษาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

Authors

  • Phana Phongchamnaphai

Abstract

               The purpose of this quasi-experimental study was to measure the level of pain reduction that came from non-electroacupuncture on knee osteoarthritis patients in Khaokho hospital,PhetchabunProvinceduring October 2005-September 2007. Samples of 49 cases were collected from out-patients in both sex aged fifty years and over who had had chronic pain for at least 6 months due to knee osteoarthritis diagnosed from American Collage of Rheumatology (ACR) clinical criteria.  The samples had no experience in acupuncture and no contraindication for acupuncture treatment.  The visual analog pain scale (VAS) were collected and the patients evaluated the pain by themselves before acupuncture treatment and after the 2nd, 5th  and 8th visits.  Statistical comparison of therapeutic results were made by using paired t-test.

              The study showed that after applying acupuncture treatment after the 2nd, 5th and 8th visits, the pain reduction experiences compared with those before acupuncture was statistical significant in both male and female and all age groups.  In conclusion, acupuncture is an effective on pain relief for patients with knee osteoarthritis.

Key words: acupuncture, knee osteoarthritis

               การวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน หลังทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝังเข็มรักษาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ใช้ไฟฟ้ากระตุ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างปีงบประมาณ 2549-2550 จำนวน 49 คน ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยอาศัยอาการทางคลินิกของสมาคมแพทย์โรคข้อประเทศสหรัฐอเมริกา ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี ไม่จำกัดเพศและมีอาการปวดมานานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ไม่เคยฝังเข็มมาก่อน ไม่ได้ใช้ยาหรือรักษาด้วยวิธีอื่นในช่วง 3 วันก่อนการฝังเข็มและในระหว่างที่ทำการศึกษา และไม่มีข้อห้ามในการฝังเข็ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดความเจ็บปวดตามแนวทางของ International guideline for the assessment of therapies for OA knee และแบบบันทึกผลข้างเคียง ให้ผู้ป่วยประเมินระดับความเจ็บปวดของตนเองก่อนฝังเข็มและหลังจากฝังเข็มครั้งที่ 2, 5 และครั้งที่ 8 เปรียบเทียบความแตกต่างของอาการปวดข้อเข่าก่อนและหลังการฝังเข็มทางสถิติด้วย paired t-test

             ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการรักษา อาการปวดข้อเข่าของผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ย 7.06 หลังการรักษาด้วยการฝังเข็มครั้งที่ 2, 5 และครั้งที่ 8 ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เป็น 6.57, 3.36 และ 2.20 คะแนน ตามลำดับ โดยอาการปวดข้อเข่าหลังการฝังเข็ม ลดลงทั้งในผู้ป่วยเพศชายและเพศหญิง สรุปว่าการฝังเข็มมีประสิทธิผลในการรักษาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี

คำสำคัญ:   การฝังเข็ม, โรคข้อเข่าเสื่อม


Downloads

Download data is not yet available.

Published

2018-11-08

How to Cite

Phongchamnaphai, P. (2018). The Effectiveness of Acupuncture for Pain Relief in Knee Osteoarthritis Patients in Khaokho Hospital, Phetchabun Province - การฝังเข็มรักษาอาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. Journal of Health Science of Thailand, 17(Sup.3), SIII623–632. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5102

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)