Prevalence, Risk Factors and Treatment Outcome of Scabies among Students at Suphanburipunyanugul - อัตราความชุก ปัจจัยเสี่ยง และผลการรักษา โรคหิดในนักเรียนโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล

Authors

  • Witaya Nuntiyagul

Abstract

                 This prospective analytic study was to screen and determine the prevalence, risk factors and treatment of scabies infestation among all 444 Thai students at Suphanburipunyanugul school,      during January-March 2008.  Demographic data, risk factors and clinical signs were obtained by interviewing, examination and definitive diagnosis was made by skin scraping under microscopic identification of the mites, eggs or fecal pellet. The prevalence rate of scabies infestation was 27.9 percent .The ratio male to female was 1.6:1. The prevalence of scabies was the highest in the age group 6-10 years,  grade 1- 6 students and came from the Central part ofThailand. Scabies in this study mostly presented as nocturnal itching and the prodermal time was about 3 weeks.  The most common presenting lesions were pruritic papules with frequent involvement of the finger web, followed by abdomen and genitalia.  Most of the patients were not aware of the main source of scabies and some were infested from other students at close contact.  The treatment of scabies with 1% gamma benzene hexachloride was successful at the rate of 61 percent after the first treatment. The cure rate increased after the second treatment (73%) and all were cured within the 4th week after the first treatment. The high prevalence of scabies was associated with poor personal hygiene (p < 0.001, OR 304.9, 95%CI 122.9, 756.2) and overcrowding condition (p=0.001, OR 83.1, 95%CI 23.3, 295.4). Health education and a clear policy in order to control infestation and transmission, early diagnosis and effective treatment may reduce the prevalence rate of reinfestation and transmission of scabies to community.

Key words :       scabies, prevalence, risk factor

                 การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้านี้ ตรวจวิเคราะห์คัดกรอง เพื่อหาอัตราความชุก ปัจจัยเสี่ยง และผลการรักษาโรคหิดในนักเรียนโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จำนวน 444 คน เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2551 โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกายและขูดรอยโรคไปตรวจหาตัวหิด ไข่หิด หรือมูลหิด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหิดสิ้นสุดการติดตามผล พบว่ามีนักเรียนเป็นโรคหิด จำนวน 124 คน คิดเป็นอัตราความชุก ร้อยละ 27.9 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.6 ต่อ 1 พบผู้ป่วยช่วงอายุ 6-10 ปี ศึกษาอยู่ชั้นประถมและมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและภาคกลางเป็นโรคหิดมากที่ ุด   ระยะเวลาที่มีอาการก่อนมาพบแพทย์อยู่ในช่วง 3 สัปดาห์   อาการนำคือ คันมากตอนกลางคืน  อาการแสดงตรวจพบตุ่มคันมากที่สุด ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือ ง่ามนิ้วมือ ท้องและอวัยะเพศ  ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าติดโรคมาจากไหนและบางส่วนติดจากเพื่อนที่โรงเรียน  ผลการรักษาด้วย 1% Gamma benzene hexachloride ครั้งแรกพบผู้ป่วยหายร้อยละ 61 ครั้งที่ 2 (1 สัปดาห์ถัดจากครั้งแรก) หายร้อยละ 73 และผู้ป่วยทุกคนหายจากโรคหิดทั้งหมดใน 4  สัปดาห์ถัดจากครั้งแรก นักเรียนโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล เป็นโรคหิดค่อนข้างมากจากปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับอนามัยส่วนบุคคลไม่ดี(p<0.001, OR 304.9, 95%CI 122.9, 756.2)  และความแออัดของสถานที่อยู่อาศัย(p=0.001, OR 83.1, 95%CI 23.3, 295.4) การอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร และ มีนโยบายที่ชัดเจนในการควบคุม เฝ้าระวังโรค ให้การวินิจฉัยพร้อมทั้งรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงจากการเป็นโรคหิดซ้ำ และป้องกันการแพร่กระจายของโรคหิดสู่ครอบครัวและชุมชน

คำสำคัญ :  โรคหิด ความชุก ปัจจัยเสี่ยง

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2018-11-08

How to Cite

Nuntiyagul, W. (2018). Prevalence, Risk Factors and Treatment Outcome of Scabies among Students at Suphanburipunyanugul - อัตราความชุก ปัจจัยเสี่ยง และผลการรักษา โรคหิดในนักเรียนโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล. Journal of Health Science of Thailand, 17(Sup.3), SIII715–723. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5113

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)