Research Series of Thai Health Care Financing: Part 4 Traffic Accident Victim Protection Act B.E. 2535 in the Context of Universal Coverage: Reform Options - ชุดวิจัยการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย ตอนที่ ๔ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ในบริบทของการสุขภาพถ้วนหน้า – ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป

Authors

  • Walaiporn Patcharanarumol
  • Jongkool Lerttiendamrong
  • Viroi Tangcharoensathien

Abstract

บทคัดย่อ

          พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ แม้ว่าจะเป็นการประกันภาคบังคับ บริษัทประกันวินาศภัยที่มุ่งกำไรเป็นผู้บริหารโครงการนี้ทั้งหมด กฎหมายนี้ให้การคุ้มครองโดยจ่ายสินไหมทดแทน ใน กรณีรักษาพยาบาลไม่เกินเพดานที่กำหนด และเหมาจ่ายกรณีการตายและทุพพลภาพ รายงานปี ๒๕๔๕ แสดงให้เห็นว่า สามารถเก็บเบี้ยประกันได้ ๗,๐๐๓ ล้านบาท โดยมีรายจ่ายเพื่อการบริหารสูงถึงร้อยละ ๔๑ รายจ่ายสินไหมทดแทนร้อยละ ๕๒ นอกจากนี้กฎหมายไม่สามารถคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคนได้ เมื่อ ประเทศไทยบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว มีความจำเป็นต้องทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายและแนวทางการปฏิรูปต่อไป ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงธันวาคม ๒๕๔๖ จากข้อมูลทุติยภูมิสี่ชุดหลัก ได้แก่ ข้อมูลต้นทุนการบริการของโรงพยาบาล ข้อมูลผู้ป่วยในกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน และข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันทั่วประเทศ รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้สันทัดกรณี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณการความต้องการงบประมาณในการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน (ไม่ว่าประสบภัยจากรถที่มีหรือไม่มีประกันตามกฎหมาย) และเสนออัตราภาษีน้ำมันเพิ่ม เพื่อให้ได้เงินเพียงพอในการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน และนำเสนอแนวทางการปฏิรูป

        การศึกษาพบว่า เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคน ต้องการงบประมาณ ๗,๑๕๘ ล้านบาทในปี ๒๕๔๕ เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยในร้อยละ ๖๓ การรักษาก่อนถึงโรงพยาบาลร้อยละ ๑๖ กรณีตายร้อยละ ๑๕ กรณีรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกร้อยละ ๕ และกรณีทุพพลภาพร้อยละ ๑

         อาศัยฐานข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี ๒๕๔๕ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า จะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นลิตรละ ๓๒ สตางค์ เพื่อให้ได้เงินทั้งสิ้น ๗,๑๕๘ ล้านบาท สำหรับการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน แต่ภาษีที่เพิ่มขึ้นจะเป็นภาระต่อครัวเรือนที่จนที่สุดมากกว่าครัวเรือนที่รวยที่สุด จึงไม่เป็นธรรม

         การปฏิรูปควรบรรลุเป้าหมายหลัก ๒ ประการคือ ให้การคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคน และต้นทุนในการบริหารจัดการต่ำ ผู้วิจัยเสนอ ๓ ทางเลือกจำแนกตามที่มาของเงิน ทางเลือกที่ ๑ อาศัยเบี้ยประกันตาม พ.ร.บ. ทางเลือกที่ ๒ อาศัยภาษีทั่วไป และทางเลือกที่ ๓ อาศัยภาษีน้ำมัน เฉพาะทางเลือกที่ ๒ และ ๓ มีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากมีเบี้ยประกันตาม พ.ร.บ. อยู่แล้ว ไม่น่าจะเป็นภาระงบประมาณ และในภาวะวิกฤตน้ำมัน ทางเลือกที่ ๓ ไม่น่าจะเป็นที่ยอมรับได้

          ภายใต้ทางเลือกที่ ๑ ผู้วิจัยเสนอว่าการปฏิรูปใหญ่ โดยให้กรมขนส่งทางบกเก็บเบี้ยประกันในขณะที่ เจ้าของรถชำระภาษีรถยนต์ประจำปี โดยจัดงบประมาณบางส่วนจากเบี้ยประกันฯ เพื่อการบริหารจัดเก็บโดย กรมขนส่งทางบก เบี้ยประกันที่เหลือส่งให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้จ่ายกรณีเจ็บป่วย ตาย และทุพพลภาพ ทางเลือกการปฏิรูปเล็กน้อย ก็อาจจะเป็นที่ยอมรับได้ เนื่องจากสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง๒ ด้านคือ ต้นทุนบริหารจัดการต่ำ และให้การคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคน

คำสำคัญ: พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ, แหล่งการคลังสุขภาพ, ผู้ประสบภัยจากรถ

 

Abstact

           Traffic Accident Victim Protection Act was implemented since 2535 B.E., Though it is a mandatory scheme, instead of the public sector, the for-profit private insurance companies were the carriers of the scheme. The scheme compensates medical treatment based on fee for services and maximum liability, a lump sum death and disability compensation are also granted. Financial report in 2545B.E. indicated a net premium of 7,003 million baht received, with a very high administrative cost (41%) and 52 percent loss ratio. The scheme can not cover all liabilities for traffic accident victims, affected by both insured and uninsured cars. A major reform may be required in the context of Universal Health Care Coverage in Thailand in 2545 B.E. The objectives of this study were to estimate total financial resource requirement (for medical care, death and disability compensations) for all traffic accident victims, to estimate how much would the government introduce additional gasoline tax to cover all traffic accident victims, and offer policy alternatives for reform.

           Based on secondary data, it was estimated that total resource requirement for all traffic accident victims would be 7,158 million baht in 2545 B.E., of which 63 percent for inpatient care, 16 percent for pre-hospital care, 15 percent for death compensation, 5 percent for ambulatory 1 percent for disability.

          Based on household consumption of gasoline from the 2545 Household Socio-economic Sur vey conducted by the National Statistical Office, the government had to raise additional 0.32 baht to a litre of gasoline in order to generate 7,158 million baht to cover the financial requirement for its obligations to all traffic accident victims. However, regressivity was observed, where it put higher burden on the poorest than the richest households.

         Two goals of reform were proposed: to cover for all traffic accident victims, affected by the insured and uninsured cars, and an appropriate scheme administrative cost.

         Three reform options were proposed based on sources of finance. Option one was to generate revenue from premium contributions by car owners. Option two was to increase general tax and option three was to earmark gasoline tax. Further analysis indicated that option two and three were neither politically feasible nor socially acceptable.

         Three reform alternatives under option one were further identified: conservative, minor and major reforms. A major reform however, was recommended in order to serve dual purposes of full coverage and minimum administrative costs. This was to outsource premium collection to the Department of Land Transport premium of which the mandatory annual renewal of car licenses offered an ample chance for such an additional burden. The large part of premium would be transferred to the National Health Security Office (NHSO) to cover all victims for medical care, death and compensations for invalids. The second preferred choice was a minor reform, by sub-contracting private insurance companies to collect premium, the large part of the premium would be transferred to the NHSO.

Key words: National Health Security Act, Traffic Accident Victim Protection Act, Healthcare financing sources, traffic accident victim

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2019-05-25

How to Cite

Patcharanarumol, W., Lerttiendamrong, J., & Tangcharoensathien, V. (2019). Research Series of Thai Health Care Financing: Part 4 Traffic Accident Victim Protection Act B.E. 2535 in the Context of Universal Coverage: Reform Options - ชุดวิจัยการเงินการคลังระบบสุขภาพไทย ตอนที่ ๔ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ในบริบทของการสุขภาพถ้วนหน้า – ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป. Journal of Health Science of Thailand, 15(1), 52–66. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/6715

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)

Most read articles by the same author(s)

1 2 > >>