Prevention and Control of Communicable Diseases among Myanmar Migrants in Amphoe Mae Sot, Changwat Tak, 2004 - ประสบการณ์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชาวพม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี ๒๕๔๗

Authors

  • Witaya Swaddiwudhipong
  • Kanoknart Pisuttakoon
  • Praphan Tatip
  • Tavisa Umphong
  • Yuvadee Tatip
  • Pranee Mahasakpan

Abstract

Abstract

          This paper reports the effects of preventive and control measures for reduction of communi- cable disease incidence among Myanmar migrants in Amphoe Mae Sot, Changwat Tak. Health services both in health care centers and by an outreach program, with the assistance of Myanmar  community health volunteers, were provided to this population. Data of communicable disease surveillance and related medical records from all public health care centers in Amphoe Mae Sot were collected and analyzed. Reduction of the incidence of vaccine-preventable disease was observed.

          Between 2002 and 2004, few cases of diphtheria, neonatal tetanus, and measles were reported in Myanmar migrants. Among the sputum-positive tuberculosis patients treated during 1999-2004, the annual rates of defaulters decreased more in Thais than Myanmars. The prevalence of HIV seropositive rates in the prostitutes in the district, most of whom were Myanmar, decreased from 28.1 percent in 1999 to 10.0 percent in 2004. During 1999-2004, the annual rates of HIV infection in Myanmar pregnant women reached the peak in 2003 (4.0 %) and declined to 1.6 percent in 2004 whereas the rates in Thais were much lower and showed a decreasing trend after 2001. Malaria incidence reduced from 5,495 cases in 2000 to 1,009 in 2004 in Thai population and from 14,038 to 4,381 in Myanmar migrants. The decreasing trends of malaria deaths were correspondingly detected in both populations. The prevalence of microfilaria rates in Myanmar migrants decreased from 2.37 percent in 1995 to 0.18 percent in 2004. The decreasing trend of microfilaria rate was also observed among Thais.

          An outreach service for prevention and control of communicable diseases, with the assistance of migrant community health volunteers, can significantly reduce disease burdens at border areas.

Key words: migrants, communicable disease, disease prevention and control

บทคัดย่อ

          รายงานนี้ได้นำเสนอประสบการณ์การใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา ในการติดตามและประเมินผลการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญ ในกลุ่มประชากรต่างชาติซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นชาวพม่า อาศัยบริเวณชายแดนไทยพม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคประกอบด้วย การจัดบริการสาธารณสุข ทั้งในสถานบริการสาธารณสุข และบริการเชิงรุกในชุมชน โดยมีอาสาสมัครต่างชาติประจำชุมชนและโรงงาน เป็นผู้ช่วยเหลือและประสานงานระหว่างหน่วยบริการสาธารณสุขและประชากรเป้าหมาย ส่วนการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานนั้นได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรค รายงานการ ควบคุมป้องกันโรค และรายงานผลการตรวจรักษาผู้ป่วย จากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่ง ใน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

          จากการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์ของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลงมาก โดยในปี ๒๕๔๕ พบ ผู้ป่วยโรคคอตีบชาวพม่า ๒ ราย และไม่พบในปี ๒๕๔๖ และ ๒๕๔๗ ส่วนโรคหัดยังพบมีรายงาน ๑ รายใน ปี ๒๕๔๕ และ ๒๕๔๖ และ ๔ รายในปี ๒๕๔๗ อัตราการขาดยาระหว่างการรักษาวัณโรคปอดมีแนวโน้มลดลงในผู้ป่วยชาวไทยมากกว่าชาวพม่า อัตราการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มหญิงบริการทางเพศซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ ๒๘.๑ ในปี ๒๕๔๒ เป็นร้อยละ ๑๐.๐ ในปี ๒๕๔๗ ส่วนอัตราการติดเชื้อเอชไอวีในหญิงตั้งครรภ์ชาวพม่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ จนถึงปี ๒๕๔๖ ซึ่ง พบอัตราสูงสุดคือ ร้อยละ ๔.๐ และเริ่มลดลงในปี ๒๕๔๗ ซึ่งพบร้อยละ ๑.๖ สำหรับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ชาวไทยมีอัตราต่ำกว่า และมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา จำนวนผู้ป่วยมาลาเรียทั้งชาวไทยและพม่ามีแนวโน้มลดลง โดยผู้ป่วยชาวไทยลดลงจาก ๕,๔๙๕ ราย ในปี ๒๕๔๓ เหลือ ๑,๐๐๙ ราย ในปี ๒๕๔๗ ส่วนผู้ป่วยชาวพม่าลดลงจาก ๑๔,๐๓๘ ราย ในปี ๒๕๔๓ เหลือ ๔,๓๘๑ ราย ในปี ๒๕๔๗ สำหรับการเสียชีวิตก็มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน อัตราการติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างในชาวพม่า ซึ่งผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการ มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ ๒.๓๗ ในปี ๒๕๓๘ เหลือร้อยละ ๐.๑๘ ในปี ๒๕๔๗ ส่วนอัตราการติดเชื้อในชาวไทยก็พบลดลง โดยพบว่าต่ำกว่าร้อยละ ๑ มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๘

           การจัดบริการสาธารณสุขเชิงรุกในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรค ในชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ ชายแดนไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติเป็นผู้ช่วยเหลือ สามารถลดปัญหาโรคติดต่อที่สำคัญลงได้ระดับหนึ่ง

คำสำคัญ: อพยพ, โรคติดต่อ, การควบคุมป้องกันโรค

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2019-05-29

How to Cite

Swaddiwudhipong, W., Pisuttakoon, K., Tatip, P., Umphong, T., Tatip, Y., & Mahasakpan, P. (2019). Prevention and Control of Communicable Diseases among Myanmar Migrants in Amphoe Mae Sot, Changwat Tak, 2004 - ประสบการณ์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชาวพม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ปี ๒๕๔๗. Journal of Health Science of Thailand, 15(2), 243–250. Retrieved from https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/6743

Issue

Section

Original Article (นิพนธ์ต้นฉบับ)

Most read articles by the same author(s)

1 2 > >>