Output and Impact of Opisthorchiasis Control Programme in 5 Provinces of the Region 5, Thailand, 1994-ผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับใน 5 จังหวัดของเขต 5 ปี พ.ศ.2537
Keywords:
-Abstract
The Objective of this study was to find out the output and the impact of the Opisthorchiasis control programme in the mid-5 year health development plan (1992-1996) in 5 provinces of region S. It was a survey research by collecting data cross-sectionally from 5,947 samples for the detection of Opisthorchis eggs and grading the severity of infection; and from interviewing 1,200 households using questionaires.The study revealed that the prevalence of Opisthorchiasis was 8.42% which was 10% below the target level, and 2 times less than that of the last survey in 1991- 95.35% 0f the infection was less severe (eggs per gram of stool less than 1000). According to the interview, knowledge about Opisthorchiasis among household members was low. The attitude was positive but only 41.82 had appropriate eating habit (the target level was 80%). Regular latrine usage was 36.15% which was far below the target level (90%). Only 71.33% of the households gained knowledge and reccived messages from all kinds of media (the target level was 80%). Village broadcasting tower was the best media while leafiets, phamphets and posters were the worst. Case finding for Opisthorchis eggs of health workers in 1994 reached only 55.41% of the target and treatment service cover 97.92% of the cases (the target level was 95%) ' ' There was a statistical significant relationship between numbers of Opisthorchis eggs found in stool and raw-fish eating behaviour and level of knowledge (P<0.05). Level of knowledge also had some relationship with mass media from all sources (P<0.0001). This study reveals the positive impact of the Opisthorchiasis control programme on prevalence and severity of infection. However it is still necessary to continue health education to improver eating and latrine-using habits of the population.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ในรอบครึ่งปีของแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 7 ใน 5 จังหวัดของเขต 5 คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยการสุ่มตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิและความรุนแรงของการติดโรคพยาธิ จาก 5,947 ตัวอย่าง และสัมภาษณ์ตัวอย่างจำนวน 1,200 ตัวอย่าง รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดที่รับผิดชอบ ผลการศึกษา พบอัตราความชุกของการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับร้อยละ 8.42 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย และลดลงประมาณ 2 เท่า เมื่อเทียบกับการสำรวจในปี พ.ศ.2534 ระดับความรุนแรงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนระดับความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับ ยังไม่ดีเท่าที่ควร ระดับเจตคติต่อโรคหนอนพยาธิ เป็นบวก พฤติกรรมการกินที่ถูกต้อง มีเพียงร้อยละ 41.82 การใช้ส้วมเป็นประจำมีเพียงร้อยละ 36.15 การได้รับความรู้และข่าวสารจากสื่อประเภทต่างๆ พบเพียงร้อยละ 71.33 ของหลังคาเรือน หอกระจายข่าวเป็นสื่อที่ดีที่สุด ส่วนเอกสาร/แผ่นพับ/โปสเตอร์ เข้าถึงประชาชนน้อยทีสุด
จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมการกินปลาดิบ และระดับความรู้โรคพยาธิใบไม้ตับมีความสัมพันธ์กับการตรวจพบไข่พยาธิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการได้รับความรู้และข่าวสารจากสื่อประเภทต่างๆ มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับเช่นกัน (p<0.0001)
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าการปฏิบัติงานควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับมีผลกระทบทำให้ความชุกและความรุนแรงของโรคลดลง แต่ยังจะต้องดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะการแก้ไขพฤติกรรมการกิน การใช้ส้วม และการให้สุขศึกษาทั้งแนวกว้างและแนวลึกในรูปแบบที่เข้าถึงประชาชนมากที่สุด โดยดำเนินการร่วมไปกับการค้นหาผู้ป่วยและให้การรักษาตามแนวทางที่กำหนดไว้ อย่างต่อเนื่อง