ผลของการจัดการเรียนการสอนเรื่อง เพศศึกษา และ ทักษะชีวิต แบบบูรณาการโดยใช้ชุดสื่อสำเร็จรูปยุคดิจิตอล สำหรับนักเรียนระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
คำสำคัญ:
เพศศึกษา, ทักษะชีวิต, สื่อดิจิตอลบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิต ความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้สื่อฯ การจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษา และทักษะชีวิตแบบบูรณาการ โดย ใช้ชุดสื่อสำเร็จรูปยุคดิจิตอล เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (one group pretest-post test design) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน คัดเลือกแบบเจาะจงโดยสำนักการประถมศึกษา (สพฐ.) จำนวน 37 โรงเรียน 23 จังหวัด กระจายทั่วทุกภาคของ ประเทศเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,804 คน โดยมีครูรับผิดชอบ จำนวน 84 คน จาก 37 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือชุดสื่อฯ ประกอบ ด้วยคู่มือ 1 เล่ม และการ์ตูน จำนวน 15 เรื่อง ระดับชั้นละ 5 เรื่อง และแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ ซึ่ง พัฒนาโดยสำนักอนามัยและเจริญพันธ์ุ กรมอนามัย โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจาก 38 หน่วยงานร่วมดำเนินการ และนำ ไปทดลองใช้ 8 โรงเรียน นักเรียน แห่งละ 30 คน นำมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น ได้ค่า KR 20 = 0.72, alpha Cronbach coefficient = 0.78 และ 0.85 ตามลำดับ ผู้วิจัยนำเครื่องมือมาใช้ในการอบรมครู (ผู้ช่วยวิจัย) คือครูที่ รับผิดชอบนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 วัน โดยผ่านการทดลองสอนและมีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ และมอบหมายให้ครูไปสอนนักเรียนในชั้นของตนเองตามโปรแกรมที่กำหนดในสื่อฯ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการสอน โดยใช้ชุดสื่อฯ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) ยกเว้นด้านทัศนคติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัย สำคัญทางสถิติ ด้านความพึงพอใจของการใช้สื่อฯ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยสรุป สื่อเพศศึกษาที่ใช้น่าจะมี ประโยชน์ในการเพิ่มความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.