การตอบสนองการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ปาจรีย์ เนียมจันทร์ หลักสูตรการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อังสนา บุญธรรม ภาควิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ชนินทร์ เจริญกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อัจฉรา วรารักษ์ ภาควิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

แผนงานโครงการ, การจัดบริการสุขภาพของสูงอายุ, กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองการจัดบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่น โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการกองทุนฯ ตัวแทน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 กองทุน รวม 6 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 396 คน ซึ่งสุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก รวบรวมข้อมูล จากเอกสาร และสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการจัดทำแผนงานกองทุนฯ ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชุมชนแบบมี ส่วนร่วมในการค้นหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา โดยการดำเนินงานโครงการผู้สูงอายุ และโครงการที่เกี่ยวข้องทำให้ เกิดการจัดบริการตามสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ การตอบสนองการจัดบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ ตอบสนองความ ต้องการของผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ติดบ้านและติดเตียง กิจกรรมบางกิจกรรมตอบสนองได้ค่อนข้างน้อย ได้แก่ กิจกรรมการตรวจประเมินสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ร้อยละ 47.8 กิจกรรมการคัดกรองสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 37.7 กิจกรรมการประเมินความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ร้อยละ 42.6 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 48.7 กิจกรรม ฟื้ นฟูสมรรถภาพด้วยกายภาพบำบัด ร้อยละ 80.0 และกิจกรรมฟื้ นฟูสมรรถภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 78.9 มีสาเหตุจากไม่มีการจัดบริการ และกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การออกกำลังกาย ร้อยละ 38.1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 35.4 กิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมสุขภาพด้วยภูมิ- ปัญญาท้องถิ่น ร้อยละ 38.30 และกิจกรรมการตรวจภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า ร้อยละ 27.3 นั้นมีสาเหตุจาก ผู้สูงอายุประกอบอาชีพ จึงทำให้การจัดบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้รับบริการไม่ครอบคลุมตามสิทธิประโยชน์ ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาทักษะของทีมอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในประเด็นการติดตามงาน การสื่อสารเชิงรุกมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาระบบการการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้สูงอาย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ