กรณีศึกษา : พฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กานต์ ฉลาดธัญญกิจ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โพยม บัลลังโพธิ์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุพิชญา นุทกิจ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วชิรา กสิโกศล ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, ภาวะโภชนาการ, เด็กวัยรุ่นตอนต้น

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ และประเมินภาวะสุขภาพ ของเด็กวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน ๔๗๓ คน  เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกินอาหาร ส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๓.๕ กินอาหาร ๓ มื้อ ได้กินมื้อกลางวัน ร้อยละ ๙๗.๓ รองลงมาคือมือเย็นร้อยละ ๙๔.๑ มื้อเช้าร้อยละ ๘๗.๕ กินขนมกรุบกรอบร้อยละ ๑๐๑ ปริมาณโดยเฉลี่ยกินขนมถุง ๔.๕ ถุงต่อสัปดาห์ ดื่มน้ำอัดลมร้อยละ ๘๓.๓ ปริมาณเฉลี่ยที่ดื่ม ๕,๕ แก้วต่อสัปดาห์ (แก้วขนาด ๒๕๐มิลลิลิตร) พฤติกรรมการพักผ่อนนอนหลับพบว่า ระยะเวลาการนอนหลับโดยเฉลี่ย ๘.๓๔ ชั่วโมง ส่วนใหญ่ร้อยละ ๖๕.๙ หลับในช่วงเวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น. พฤติกรรมเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงวันและการออกกําลังกาย พบว่าเด็กวัยรุ่นดูโทรทัศน์ร้อยละ ๙๗.๙ เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ร้อยละ ๖๘.๙ เรียนพิเศษร้อยละ ๘๕.๒ ภาวะโภชนาการสมส่วน ทั้งเพศชายและเพศ ร้อยละ ๕๐.๙ และ ๕๘.๕ ตามลำดับ จึงควรส่งเสริมให้นักเรียนวัยรุ่นมีความรู้ในการปฏิบัติตนที่ดีเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อช่วยให้นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพเหมาะสมยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้