ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทรงตัวกับการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักมีปัญหาเรื่องความพิการตามมา เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความยากลำบาก ในการประกอบกิจวัตรประจำวัน การเคลื่อนไหว การทรงตัว และปัญหาในการเดิน วัตถุประสงค์ของการ ศึกษาแบบไปข้างหน้านี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทรงตัวกับการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมอง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 32 คนที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วย สถาบันประสาทวิทยา ได้ รับการทดสอบการทรงตัวโดยใช้แบบทดสอบการทรงตัวของเบิร์ก และประเมินความสามารถในการ ประกอบกิจวัตรประจำวันโดยใช้ดัชนีบาร์เทลเมื่อแรกรับและจำหน่ายออกจากโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ พบว่าการทรงตัวและความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเมื่อแรกรับและจำหน่ายมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01) กันอย่างมากและมีนัยสำคัญทางสถิติ (r 0.93, r 0.85, ตามลำดับ) การเคลื่อนไหวเมื่อแรกรับและจำหน่ายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการทรงตัวเมื่อแรกรับ (r 0.90, r 0.30, ตามลำดับ) การขึ้นบันไดเมื่อแรกรับและจำหน่ายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการทรงตัวเมื่อแรกรับ เช่นเดียวกัน (r 0.66, r 0.77, ตามลำดับ) เมื่อผ่านโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ การเพิ่มขึ้นของการทรงตัว และความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันในภาพรวมและคะแนนการเคลื่อนไหวมีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญกันในระดับปานกลางโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (r 0.69, p < 0.01; r 0.70, p < 0.01 ตามลำดับ) การเพิ่มขึ้นของคะแนนการทรงตัวกับคะแนนการขึ้นบันไดมีระดับความสัมพันธ์กันต่ำมาก
สรุปได้ว่าความสามารถในการทรงตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมากกับการเคลื่อนไหว ผลการศึกษานี้จะ เป็นประโยชน์ในด้านเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาเรื่องการทรงตัวและการล้มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.