การชันสูตรพลิกศพที่ตายจากบาดเจ็บทางจราจร: ประเด็นด้านกฎหมายและการรักษา
คำสำคัญ:
การตายจากบาดเจ็บทางจราจร, การชันสูตรพลิกศพ, ประเด็นด้านกฎหมายและการรักษาบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของศพที่ตายโดยอุบัติเหตุจราจร ครอบคลุมทั้งประเด็นกฎหมายและการรักษา และเพื่อพัฒนาการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุในอนาคต เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา จากศพที่แพทย์นิติเวชได้ชันสูตร ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2552 ใช้ตัวแปรที่สำคัญ ได้แก่ เพศ อายุ สถานที่ตาย เหตุตาย กลไกการตาย และพฤติการณ์ที่ตาย เฉพาะศพที่ตาย ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูนได้คำนวณ Probability of survival (Ps) ด้วยโดยใช้วิธีการแบบ TRISS ผลการศึกษาพบว่า ศพทั้งหมดมี 154 ราย ตายที่เกิดเหตุ 96 ราย ตายที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน 18 ราย สาเหตุตายส่วนมากเกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ (74 ราย) Ps ของผู้ป่วยที่ตาย ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน มีค่าตั้งแต่ ร้อยละ 0 ถึง 82.6 มีค่าเกินร้อยละ 50 จำนวน 3 ราย ข้อมูลการชันสูตรพลิกศพที่ละเอียดเพียงพอสามารถใช้สรุปเหตุและพฤติการณ์ที่ตายได้อย่างถูกต้อง โดย บางรายเมื่อผ่าศพพิสูจน์แล้วมีผลให้เหตุและพฤติการณ์ที่ตายเปลี่ยนแปลงไปจากการสันนิษฐานเบื้องต้น การตาย ณ ที่เกิดเหตุยังคงเป็นปัญหาสำคัญของการตายที่เกิดจากการบาดเจ็บจราจรและมีแนวโน้มมากขึ้น ซึ่งแก้ไขได้โดยป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ และต้องมีการพัฒนาระบบการช่วยเหลือก่อนถึงโรงพยาบาลควบคู่กันไป โดย พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้ส่งต่อผู้ป่วยได้เร็วขึ้นส่วนการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุนั้นต้องมีการพัฒนาทั้งระบบควรทบทวนศึกษาเชิงลึกในผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกรายที่มีค่า Ps เกินร้อยละ 50
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.