ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขมิ้นขาวป่า
คำสำคัญ:
ขมิ้นขาวป่า, ฤทธิ์ต้านเชื้อรา, ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา, สาร labda-8(17), 12-diene-15, 16-dialบทคัดย่อ
การติดเชื้อราที่ผิวหนังเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยในประเทศแถบเขตร้อนชื้น และรักษาได้โดยการใช้ยาต้านเชื้อราที่มีอยู่ในปัจจุบัน แท้จริงแล้วโรคผิวหนังจากเชื้อราสามารถรักษาโดยการใช้สมุนไพรไทยมาทาบริเวณรอยโรคได้เช่นกัน จากผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าขมิ้นขาวป่ามีฤทธิ์ดีในการต้านเชื้อราโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อก่อโรคที่ผิวหนังการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารต้านเชื้อราจากเหง้าขมิ้นขาวป่า โดยการแยกสารออกฤทธิ์ต้านเชื้อราให้บริสุทธิ์ตามหลักการ bioassay-guided separation ด้วยวิธีทางโครมาโทกราฟี และทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อราต่อเชื้อก่อโรคที่ผิวหนังด้วยวิธี broth microdilution assay พบสารออกฤทธิ์หลักในเหง้าขมิ้นขาวป่าคือ labda-8(17),12-diene-15,16-dial โดยแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์เช่น Trichophyton rubrum, Trichophyton menta-grophytes, และ Microsporum gypseum ที่ความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (Minimum Inhibitory Concentra-tions, MICs) 0.39 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และมีฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans ที่ MIC 3.13 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรเมื่อศึกษาผลของ labda-8(17),12-diene-15,16-dial ต่อการเจริญของเชื่อ C. albicans ที่เวลาต่างๆเทียบกับยามาตรฐานที่ MICs พบว่าสาร labda-8(17),12-diene-15,16-dial แสดงฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ในขณะที่ ketoconazole ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อราที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันแสดงเพียงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ดังนั้น สารนี้จึงน่าสนใจสำหรับเป็นสารต้นแบบทางยาต้านเชื้อราหรือนำไปพัฒนาเป็นตำรับยาต้านเชื้อราในรูปแบบต่างๆ ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.