รายงานสถานะสุขภาพคนไทย : การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
คำสำคัญ:
สถานะสุขภาพ, การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ๒๕๔๖, คะแนนสุขภาพกาย, คะแนนสุขภาพใจ, ความ ตรงตามโครงสร้างบทคัดย่อ
ใน พ.ศ. ๒๕๔๖ สำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศได้สร้าง คำถามที่ใช้ประเมินสถานะสุขภาพ ๙ ข้อ เป็นคำถามที่ประเมินสุขภาพกาย ๔ มิติ (การเคลื่อนไหว, การ ดูแลตนเอง, การทำกิจกรรมปรกติ, การเจ็บป่วย ไม่สบาย), สุขภาพใจ ๓ มิติ (ความวิตกกังวล, การมีสมาธิ จดจำ, การเข้าสังคม) และภาพรวมของสุขภาพ ๒ คำถาม (เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว, กับคนอื่นที่คล้ายคลึง กัน) ให้ชื่อว่า 9-THAI (9-item Thai Health status Assessment Instrument) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสถานะสุขภาพของคนไทย และการประเมินความตรงโดยใช้กลุ่มที่ทราบค่าอยู่ก่อน แล้วของ 9-THAI
การประเมินสถานะสุขภาพของคนไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป จำนวน ๓๗,๒๐๒ คน จากข้อมูลในปี ๒๕๔๖ ซึ่งสุ่มจากทุกจังหวัด ทั้งในและนอกเขตเทศบาล โดยสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นสองขั้นตอน (stratified two stage sampling) พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือ, นอกเขตเทศบาล, มีรายได้อยู่ในกลุ่มยากจนที่สุด หรือมีบัตรทอง ๓๐ บาท เป็นผู้ที่มีปัญหาสถานะสุขภาพ โดยมีร้อยละของปัญหาในด้านกายและใจ ๗ มิติ สูงกว่า และมีคะแนนสุขภาพกายและใจ ต่ำกว่าผู้ที่อยู่ในภาคอื่น, ในเขตเทศบาล, มีรายได้ในกลุ่มที่รวยกว่าหรือมีสวัสดิการรักษาพยาบาลแบบอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทดสอบโดยสถิติ chi-square, t-test ANOVA ตามความเหมาะสม ดังนั้น การกำหนดนโยบายทางสาธารณสุขควรให้ความสนใจกับกลุ่มดังกล่าวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในผู้ที่มีภาวะสุขภาพทรุดลง ได้แก่ ผู้ที่ป่วย, เคยพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือมีโรคเรื้อรัง มีร้อยละของปัญหาในด้านกายและใจ ๗ มิติ สูงกว่า และมีคะแนนสุขภาพกายและใจ ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๐๑) เป็นไปตามที่ตั้งสมมติฐานไว้ จึงสนับสนุนความตรงของ 9-THAI ในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.