การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความร่วมมือ เพื่อการจัดเก็บข้อมูลทารกแรกเกิด บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
คำสำคัญ:
ระบบฐานข้อมูลความร่วมมือ, เครือข่ายอินเตอร์เน็ต, ข้อมูลทารกแรกเกิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับทารกแรกเกิด ด้วยฐานข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาลประจำการหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด หอ ผู้ป่วยสูติกรรม หอผู้ป่วยพิเศษสูติกรรมและเด็กของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลศูนย์ ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 24 คน การวิจัยระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดการข้อมูลทารกแรกเกิดและความต้องการด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลศูนย์ ในจังหวัดเชียงใหม่ และออกแบบระบบฐานข้อมูลในระยะที่ 2 ได้นำข้อมูลที่ค้นพบมาพัฒนาระบบฐานข้อมูลโดยใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่พัฒนาด้วยภาษาพีเอชพีและฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ให้สามารถแสดงผลในรูปแบบของสารสนเทศออนไลน์ได้ มีการอบรมการใช้ฐานข้อมูลแก่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน ระยะที่ 3 พยาบาลที่ผ่านการอบรมทดลองเก็บข้อมูลทารกแรกเกิดโดย ใช้ระบบฐานข้อมูล โดยใช้ระยะเวลาการเก็บข้อมูลอยู่ในช่วงพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยการวิจัย ในระยะที่ 3 เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามการใช้งานระบบฐานข้อมูลความร่วมมือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ฐานข้อมูลความร่วมมือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้วิจัยนำเครื่องมือวิจัย ให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบ ได้ความสอดคล้อง ร้อยละ 80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา พบว่า การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความร่วมมือ เกี่ยวกับทารกแรกเกิดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ได้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับทารกแรกเกิดที่มีคุณสมบัติดังนี้ มีระบบตรวจทานข้อมูลก่อนบันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล สามารถเรียกดูข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงได้ มีการปรับข้อมูลและสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางและกราฟที่มีการประมวลผลเสร็จแล้ว ณ เวลาปัจจุบัน (real time) สำหรับข้อคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูลความร่วมมือทารกแรกเกิดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าไม่พบอุปสรรคในการใช้งาน และสามารถเรียกดูข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงได้ทุกครั้ง และการลงข้อมูลทำได้สะดวกกว่าการลงข้อมูลในแบบฟอร์มที่เป็นเอกสาร กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบฐานข้อมูลในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งจะเห็นว่าระบบฐานข้อมูลที่ผ่านเครือ อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์มากมายและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ จึงน่าจะมีการพัฒนา ระบบฐานข้อมูลมาใช้ในวิชาชีพด้านบนสาธารณสุขให้มากขึ้นเพื่อความทันสมัย มีความสะดวกในการเก็บ และสืบค้นข้อมูลตลอดจน ลดระยะเวลาในการประมวลผลข้อมูล
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.