การพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • ปิยฉัตร ดีสุวรรณ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลแพร่
  • น้ำทิพย์ จองศิริ กลุ่มงานโภชนาการ โรงพยาบาลแพร่
  • สุรางค์รัตน์ พ้องพาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง
  • พัชรินทร์ คำนวล กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลพะเยา
  • ภมรศรี ศรีวงค์พันธ์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
  • นวัชโรจน์ อินเต็ม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

คำสำคัญ:

ภาคเหนือตอนบน, อาหารพื้นบ้าน, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, สภาวะทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้านยอดนิยมให้มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เสี่ยงหรือป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และประเมินประสิทธิผลของเมนูอาหารที่พัฒนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการทดลองในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและการดูแลผู้สูงอายุ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับอาสาสมัครร่วมประกอบอาหาร และการส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการก่อนและหลังการพัฒนาสูตรอาหาร ผลที่ได้คือ คู่มือ “10 อย่างอาหารเหนือ เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ” ส่วนการทดลองในชุมชน ดำเนินการในจังหวัดแพร่ พะเยา ลำปาง และเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรืออ้วน จำนวนทั้งหมด 319 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 163 คน และกลุ่มควบคุม 156 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับสุขศึกษาเช่นเดียวกัน แต่กลุ่มทดลองจะได้รับคู่มืออาหารและนำไปปฏิบัติ หลังเข้ากิจกรรม 1 เดือน จะมีการติดตาม ความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด โคเลสเตอรอลในเลือดและดัชนีมวลกาย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ความดันโลหิตและดัชนีมวลกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเฉลี่ยลดลง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์โดยควบคุมอิทธิพลของเพศและการออกกำลังกาย พบว่า การรับประทานอาหารตามคู่มืออาหาร มีผลลดความดันโลหิตตัวบน 3.3 มิลลิเมตรปรอท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้สรุปว่า การนำเมนูอาหารยอดนิยมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ส่งผลดีต่อการคุมภาวะโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรืออ้วน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้