สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานคร : ความชุกของโรคและภูมิคุ้มกัน

ผู้แต่ง

  • ทรงศรี เกษมพิมลพร สถานเสาวภา (ศูนย์วิจัยร่วมองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า) สภากาชาดไทย
  • เบญจวรรณ สิชฌนาสัย กองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
  • วชิราภรณ์ แสงสีสม สถานเสาวภา (ศูนย์วิจัยร่วมองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า) สภากาชาดไทย
  • สุนันทา เพิ่มพูนพานิช สถานเสาวภา (ศูนย์วิจัยร่วมองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า) สภากาชาดไทย
  • สมภพ ฉัตราภรณ์ กองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
  • วิศิษฐ์ สิตปรีชา สถานเสาวภา (ศูนย์วิจัยร่วมองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า) สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

โรคพิษสุนัขบ้า, ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า, สุนัขจรจัด

บทคัดย่อ

            โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงในคนที่ทำให้เสียชีวิต โดยส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อจากการถูกสุนัขกัด จากรายงานพบว่าสุนัขจรจัดเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานการณ์ปัจจุบันของโรคพิษสุนัขบ้า ในแง่ความชุกของโรคและความชุกของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำลายและซีรั่มจากสุนัขจรจัดจาก 50 เขต จำนวน 3,314 ตัว ตัวอย่างน้ำลายถูกตรวจหาเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าด้วยวิธี latex agglutination และ วิธี reverse transcription-polymerase chain reaction ส่วนตัวอย่างซีรั่มถูกตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าด้วยวิธี enzyme-linked immunosorbent assay พบสุนัขหนึ่งตัวมีเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในน้ำลายคิดเป็นอัตราความชุกของโรคพิษสุนัขบ้าร้อยละ 0.03 (1 ใน 3,314) ส่วนอัตราความชุกของแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าร้อยละ 54.92 โดยมีค่าเฉลี่ยรวมของระดับแอนติบอดีในสุนัขเป็น 0.57 EU/ ml สุนัขจรจัดส่วนใหญ่จากพื้นที่รอบในของกรุงเทพมหานครมีแอนติบอดีสูงกว่าเกณฑ์ แอนติบอดีต่ำสุดที่องค์การอนามัยโลก กำหนดว่าสามารถยอมรับได้ที่ 0.5 EU/ml ในทางตรงกันข้ามสุนัขจรจัดส่วนใหญ่จากเขตพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพมหานครมีแอนติบอดีต่ำกว่าเกณฑ์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

วิธีการอ้างอิง