การประยุกต์ใช้ทฤษฏีการบริหารจัดการ POCCC ของอาสาสมัครประจำครอบครัวเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผู้แต่ง

  • ธนกร จันทาคึมบง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาของประเทศไทย ในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้-เลือดออกสูงกว่าเกณฑ์ของกระทรวงกำหนด เนื่องจากการบริหารจัดการป้องกันโรคยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน ไม่มีเครือ-ข่ายสุขภาพที่เป็นรูปธรรม ผู้วิจัยจึงได้นำทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol มาใช้ในการวิจัยครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฏีการบริหารจัดการ POCCC ของอาสาสมัครประจำครอบครัวเพื่อ เป็นผู้นำในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประชากรที่ศึกษาคือ อาสาสมัครประจำครอบครัวจำนวน 128 คน เลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 64 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 64 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ – กรกฏาคม 2561 กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมประยุกต์ ใช้การบริหารจัดการ (Planning-Organizing-Commanding-Coordinating-Controlling; POCCC) ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกประกอบด้วยการวางแผนการจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน การควบคุม เก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจลูกน้ำยุงลายของกรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่า-ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test Independent t-test ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความรู้ การมีส่วนร่วมการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออกสูงกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเปรียบเทียบค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายในช่วงหลังการทดลองวัดซ้ำเพิ่มอีกใน 1 เดือน และ 3 เดือน กลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ โดยสรุปจากการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบริหารจัดการนี้ ส่งผลให้กลุ่มทดลองที่เป็นอาสาสมัครประจำครอบครัว เกิดการร่วมกันคิด ร่วมกันทำอย่างเป็นระบบ เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและทำให้เกิดกลอนลำเพื่อกระตุ้นเตือนในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

วิธีการอ้างอิง