การพัฒนาหัวเชื้อ B–Soy powder จากกากถั่วเหลือง เพื่อใช้ผลิตสารชีวภาพกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ

ผู้แต่ง

  • นิตยา เมธาวณิชพงศ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี
  • นันทพร ผลสุวรรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี
  • พรชัย วิริยะศรานนท์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี
  • อุรุญากร จันทร์แสง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี
  • สุนัยนา สท้านไตรภพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

จุลินทรีย์ Bacillus thuringiensis var. israelensis, ยุงรำคาญ, กากถั่วเหลือง, สารชีวภาพกำจัดลูกน้ำ

บทคัดย่อ

จุลินทรีย์ Bacillus thuringiensis var. israelensis หรือ Bti เป็นแบคทีเรียที่ได้จากแหล่งดินธรรมชาติ สามารถสร้างผลึกโปรตีนที่ออกฤทธิ์ทำให้ลูกน้ำยุงตายได้ Bti ถูกนำไปใช้ในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus Say) พาหะนำโรคเท้าช้าง แต่กระบวนการผลิตแบคทีเรียชนิดนี้มีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง และอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงแบคทีเรียมีราคาแพง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหัวเชื้อ Bti สำหรับใช้ผลิตสารชีวภาพกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญโดยใช้กากถั่วเหลืองที่เหลือทิ้งจากการทำน้ำเต้าหู้เป็นอาหารเพาะเลี้ยง นำตะกอนเชื้อ Bti ที่เพาะเลี้ยงไปผ่านการทดสอบการอบแห้งที่ระดับอุณหภูมิต่างๆ คือ 40, 50 และ 60 องศาเซลเซียส พบว่าตะกอนเชื้ออบแห้งที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ให้หัวเชื้อ Bti หรือ B-Soy powder มีคุณภาพดีที่สุด นำ B-Soy powder มาทดสอบการเก็บรักษาในถุงอลูมิเนียมฟอยด์โดยเปรียบเทียบการปิ ดผนึกถุงแบบสุญญากาศและแบบไม่สุญญากาศ หลังการเก็บ 3 เดือน นำ B-Soy powder ไปทดสอบกับลูกน้ำยุงรำคาญพบว่าได้ค่า LC50 เท่ากับ 0.914 และ 1.012 mg/l ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเริ่มต้นเล็กน้อย (LC50=0.879 mg/l) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการปิดผนึกทั้งสองแบบนี้ในระยะเวลา 3 เดือนสามารถรักษาคุณภาพของหัวเชื้อ B-Soy powder ได้ไม่แตกต่างกัน ส่วนการเก็บเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า B-Soy powder มีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำลดลง 3-5 เท่า จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้เป็นหัวเชื้อเพื่อผลิตสารชีวภาพกำจัดลูกน้ำ สำหรับการผลิตสารชีวภาพควบคุมลูกน้ำยุงรำคาญในถังพลาสติกปริมาณ 5 ลิตร โดยเปรียบเทียบการใช้หัวเชื้อ B-Soy powder ที่ปริมาณ 5, 10, 15, 20 และ 25 กรัม พบว่าการใช้ B-Soy powder อย่างน้อย 10 กรัม ให้สารชีวภาพที่มีประสิทธิภาพดีในการควบคุมลูกน้ำยุงรำคาญ และการคำนวณต้นทุนพบว่าสารชีวภาพที่ผลิตจากหัวเชื้อ B-Soy powder มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าสารชีวภาพที่ผลิตจากหัวเชื้อ Bti บริสุทธิ์ที่เพาะเลี้ยงด้วยอาหารมาตรฐานถึง 29 เท่า ดังนั้น B-Soy powder จึงมีต้นทุนต่ำและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ นอกจากนี้ได้มีการถ่ายทอดวิธีการผลิตสารชีวภาพให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อให้ชุมชนร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญด้วยตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้