ความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5 กับอาการกำเริบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลน่าน

ผู้แต่ง

  • กนก พิพัฒน์เวช กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน กระทรวงสาธารณสุข
  • ศิริพร อุปจักร์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลน่าน กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ฝุ่น PM2.5, การสัมผัสฝุ่นละออง, การกำเริบของโรค

บทคัดย่อ

ภาคเหนือของประเทศไทยมีการเผาป่ าจำนวนมากก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศโดยพบความสัมพันธ์ระหว่างการ สัมผัสกับฝุ่นละอองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกำเริบ เฉียบพลันของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่ไม่มีงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ PM2.5 กับการเกิดกำเริบของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในภาคเหนือของประเทศไทย การศึกษานี้จึงทำเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาและ ปริมาณการสัมผัสกับ PM2.5 กับผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบและต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (การรวบรวมข้อมูลแบบไปข้างหน้า) ในผู้ป่ วยปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งมีอายุมากกว่า 40 ปี ทีเข้ารับการรักษาระหว่างวันที ่ 1 มกราคม ถึง 31 พฤษภาคม 2019 โดยบันทึกลักษณะทั่วไปของผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้น ่ เรื้อรังอธิบายตั้งแต่อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา พฤติกรรมการสูบบุหรี่และภูมิลำเนา ปัจจัยทีมีผลต่อการกำเริบเฉียบพลัน ของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง PM2.5 ระดับที่มีประสิทธิภาพและระยะเวลาที่ได้รับก่อนเข้าโรงพยาบาลซึ่งมีผลต่อการ กำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทีจะทำให้เกิดการกำเริบของโรคและระดับ PM2.5 โดยระบบสมการถดถอยโลจิสติก ผู้ป่ วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ 851 คน ร้อยละ 63.0 เป็นเพศชาย ร้อยละ 93.7 มีอายุมากกว่า 60 ปี โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่ วยในการศึกษาคือ 74.7+9.6 ปี ปัจจัยทีมีผลต่อการเกิดการ ่ กำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือประวัติการเคยสูบบุหรี่เพิ่มการกำเริบขึ้น 2.4 เท่า การได้รับ PM2.5 36-75 µg/m3 เพิ่มการกำเริบขึ้น 1.5 เท่า และการได้รับ PM2.5 >75 µg/m3 เพิ่มการกำเริบขึ้น 1.6 เท่า การได้สัมผัสกับ PM2.5 ระดับ 36-75 µg/m3 เพิ่มการกำเริบขึ้นของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังขึ้น 1.3 เท่า และการได้สัมผัสกับ PM2.5 ระดับมากกว่า 75 µg/m3 เพิ่มการกำเริบขึ้นของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังขึ้น 1.4 เท่า โดยระยะเวลาการสัมผัสกับระดับ PM2.5 ก่อนมา โรงพยาบาลมีผลต่อการเกิดการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยทีสัมพันธ์กับระดับสูงมากกว่า 75 µg/m ่ 3 และใน ช่วง 4 วันแรกหลังจากสัมผัส จะเพิ่มการกำเริบของโรค แพทย์สามารถแนะนำการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองในผู้ ป่ วยกลุ่มดังกล่าวช่วงระยะเวลาที่มีค่ามลพิษในระดับความเข้มข้นสูงเพื่อป้ องกันการกำเริบของโรค

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ