ผลการชะลอเบาหวานในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยการจัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง ร่วมกับการสนทนาสร้างแรงจูงใจ โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ ชายบุญแก้ว โรงพยาบาลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ชะลอการเกิดเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, การจัดการรายกรณี, การสนทนาสร้างแรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการชะลอเบาหวานด้วยการจัดการรายกรณี ร่วมกับการสนทนาสร้างแรงจูงใจ ศึกษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 17 เมษายน 2560 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่ วย ความดันโลหิตสูงจำนวน 42 คน นำมาวางแผนการจัดการรายกรณีร่วมกับการสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจรายละ 2 – 3 ครั้งต่อปี และวิเคราะห์ภาวะดื้ออินซูลิน ร่วมความสอดคล้องของกิจวัตรประจำวันกับผลตรวจร่างกาย และผลการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการ มาสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง รับประทานอาหารที่เพิ่มHigh density lipoprotein (HDL) และเลี่ยงอาหารที่เพิ่ม low density lipoprotein (LDL) และรับประทานยาลดไขมันในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ จำนวนและร้อยละ วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดขณะ อดอาหาร (FBS) หลังการทดลองโดยใช้ One sample t-test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 60 ปีมีความดันซิสโตลิกระดับที่ 1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 85.7 เป็นร้อยละ 95.2 ความดันซิสโตลิกระดับที่ 2 และระดับ ที่ 3 ลดลง ผู้ที่มี triglyceride น้อยกว่า150 mg% เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 43.9 เป็นร้อยละ 87.1 ผู้ที่มี triglyceride มากกว่าหรือเท่ากับ 150 มก.% ลดลงจากร้อยละ 56.1 เป็นร้อยละ 12.9 ผู้ที่มี LDL น้อยกว่า100 mg% เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 43.9 เป็นร้อยละ 45.2 ผู้ที่มี LDL มากกว่าหรือเท่ากับ 100 mg% ลดลงจากร้อยละ 57.1 เป็นร้อยละ 54.8 ผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า25 กก./ตร.ม. ลดลงจากร้อยละ 66.7 เป็นร้อยละ 64.4 อย่างไรก็ตามผู้หญิงที่มี ดัชนีมวลกายน้อยกว่า25 กก./ตร.ม. เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.3 เป็นร้อยละ 35.7 สามารถชะลอเบาหวานได้ มีFBSน้อยกว่า 126 mg/dl อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มี FBS ปกติเพิ่มขึ้น FBS เสี่ยงลดลง อุบัติการณ์ โรคเบาหวานในผู้ป่ วยความดันโลหิตสูงลดลงจาก 73 ต่อแสนประชากรเป็น 63 ต่อแสนประชากร ได้ขยายผลที่ แผนกผู้ป่ วยนอก หน่วยบริการปฐมภูมิจำนวน 14 แห่ง สามารถชะลอเบาหวานได้ร้อยละ 96.5

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ