ประสิทธิผลของมาตรการควบคุมโรคต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อ SAR-CoV-2 ของผู้สัมผัสเสี่ยงสูง: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ธนิศ เสริมแก้ว กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ณิชาพัชร สังข์แก้ว คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  • ชยานนท ภู่เจริญ คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

คำสำคัญ:

โรคโควิด -19, เชื้อ SAR-CoV-2, มาตรการควบคุมโรค, ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

บทคัดย่อ

สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกแรก (มีนาคม – พฤษภาคม 2563) จังหวัดภูเก็ตมีจำนวน ผู้ติดเชื้อสะสมมากเป็นอันดับสองของประเทศ มาตรการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในสถานกักกันที่รัฐจัดหาให้ (local quarantine) อย่างเด็ดขาด และมาตรการปิดรอยต่อระหว่างตำบลเป็นสองมาตรการสำคัญที่หน่วยงานภายในจังหวัด ภูเก็ตใช้ในการควบคุมการระบาดในพื้นที่ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยในผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง (high risk contact) ทั้งหมด 1,103 ราย จากผู้ป่ วยยืนยันจำนวน 218 ราย เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสองนโยบายดังกล่าว โดยใช้แบบจำลอง โพรบิท (probit model) ในการวิเคราะห์ข้อมูลการติดตามผู้ป่ วยยืนยันและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงด้วยการสอบสวนโรคของ ทีมปฏิบัติการสอบสวนโรคตามกระบวนการ โดยวิเคราะห์โอกาสการติดเชื้อในภาพรวมของแต่ละมาตรการทั้ง 3 ช่วง ระยะเวลา (before local quarantine, after local quarantine และ after local quarantine and sub-district lockdown) ซึ่งมีมาตรการต่างกันทำให้มีโอกาสการแพร่ระบาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีความเชื่อมั่นร้อยละ 99 พบว่า ่ มาตรการกักกันผู้สัมผัสเสียงสูงในสถานกักกันที ่ รัฐจัดหาให้อย่างเด็ดขาด สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อในกลุ่มผู้สัมผัส ่ เสี่ยงสูงโดยเฉพาะโอกาสการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในครัวเรือน (household secondary attack) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ อนึ่งการผนวกมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างตำบล (sub-district lockdown) เข้ากับมาตรการกักตัวดังกล่าว ผลการวิจัยไม่พบหลักฐานที่ยืนยันความเชื่อมโยงของมาตรการดังกล่าวในการลดโอกาสในการติดเชื้อของผู้สัมผัส เสี่ยงสูง แต่ในทางกลับกันพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ ที่แสดงถึงโอกาสในการติดเชื้อภายในครัวเรือนมีความรุนแรงขึ้นหลัง จากการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาการใช้มาตรการดังกล่าวก่อนบังคับใช

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ