รูปแบบความร่วมมือในการส่งต่อผู้ป่วยระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา: ผลลัพธ์จากมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ
คำสำคัญ:
ประเมินผล มาตรการความร่วมมือ, การป้ องกันควบคุมโรค, ระหว่างประเทศบทคัดย่อ
รูปแบบความร่วมมือในการส่งต่อผู้ป่ วยระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา: ผลลัพธ์ จากมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบความร่วมมือในการส่งต่อผู้ป่ วย ระหว่างประเทศที่เป็นผลมาจากการดำเนินงาน ตามมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสาธารณสุขและการ ป้ องกันควบคุมโรค ที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2560-2561 และปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินงานตามรูปแบบ การส่งต่อผู้ป่ วยระหว่างประเทศฯ โดยทำการศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัด หนองคาย พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในพื้นที่จังหวัดสระแก้วและจังหวัดตราดและชายแดนไทย-เมียนมาร์ ใน พื้นที่จังหวัดระนองและจังหวัดตาก กลุ่มเป้ าหมายเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุขชายแดนในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการส่งต่อผู้ป่ วยเฉพาะโรค TB และ HIV มีการดำเนินงานทุกจังหวัด ส่วนรูปแบบการส่งต่อผู้ป่ วยฉุกเฉินระหว่าง ประเทศ มีสามรูปแบบคือ (1) การส่งต่อผู้ป่ วยระหว่างโรงพยาบาลรัฐ-รัฐ โดยมีแนวทางการส่งต่อผู้ป่ วยรายโรค ร่วมกัน (2) การส่งต่อตามบันทึกข้อตกลง แต่มีการปฏิบัติไม่เต็มรูปแบบตามข้อตกลง และ (3) อยู่ในระยะพัฒนา ระบบการส่งต่อฯ ไม่มีการทำบันทึกข้อตกลง และในทางปฏิบัติระหว่างโรงพยาบาลรัฐทั้งสองฝั่งยังไม่เป็นรูปธรรม ปัญหาอุปสรรคคือการลดลงของงบประมาณสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขและการป้ องกันควบคุมโรคระหว่าง ประเทศ ปัญหาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคและภาระงานตรวจคัดกรองผู้ป่ วยส่งต่อ ณ ด่านควบคุมโรค และปัญหาระบบข้อมูลและการสื่อสาร
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.