การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผสมสมุนไพร OTOP ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 และ 4

ผู้แต่ง

  • สิรดา ปงเมืองมูล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วิสิฐศักดิ์ วุฒิอดิเรก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณัฐพร คล้ายคลึง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วชิราภรณ์ พุ่มเกตุ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จินตนา ว่องวิไลรัตน์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์, คุณภาพ, เครื่องสำอางผสมสมุนไพร OTOP

บทคัดย่อ

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมสมุนไพร OTOP สามารถสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน เป็น หัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจึงต้องเข้ามามีบทบาทส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มี คุณภาพมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภค การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมสมุนไพร OTOP ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 และ 4 แบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่งระหว่าง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ถึง 2561 พัฒนาคุณภาพให้ปลอดภัยจากการปนเปื้ อนเชื้อจุลินทรีย์ จากผู้ประกอบการ 26 ราย โดยการตรวจเยี่ยม อบรมให้ความรู้และตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวม 67 ตำรับ พบไม่ได้มาตรฐาน 7 ตำรับ ซึ่งได้แก้ไขให้มีคุณภาพ ระยะที่สองระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ถึง 2562 พัฒนาต้นแบบผู้ประกอบการ 2 แห่ง โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร มะหาด ไพล และกะเม็ง อบรมให้ความรู้ ตรวจหาการปนเปื้ อน เชื้อจุลินทรีย์ สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และเอกลักษณ์สารสำคัญชี้บ่ง คือ trans-oxyresveratrol และ trans-resveratrol ในมะหาด curcumin ในไพล และwedelolactone ในกะเม็ง ปัญหาคือตรวจไม่พบเอกลักษณ์สารสำคัญ จึงได้ พัฒนาออกแบบวิธีการสกัดการเตรียมสูตรตำรับและสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในปี 2562 ผลการตรวจ วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเป็นหลักฐานการพัฒนา เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพผลิตภัณฑ์ จากต้นแบบขยายผล สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศ ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-06

วิธีการอ้างอิง