โรคหืดจากการทำงานในคนงานพ่นสี : รายงานผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • อติพงษ์ สุจิรัตน์ สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิศิษฐ์ อุดมพาณิชย์ สาขาวิชาโรคระบบทางการหายใจและภาวะวิกฤตทางการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรพจน์ เหลืองจิรโณทัย สาขาวิชาโรคระบบทางการหายใจและภาวะวิกฤตทางการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สมเกียรติ ท้วมแสง ศูนย์อ้างอิงทางห้องปฏิบัติการและพิษวิทยา สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โรคหืดจากการทำงาน, อีพอกซีเรซิน, ตรวจวัดสมรรถภาพการทำงานของปอดด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

            โรคหืดจากการทำงานเกิดในคนที่ทำงานสัมผัสกับสารกระตุ้นที่เป็นต้นเหตุซึ่งมีอยู่เฉพาะในสภาพแวดล้อม ของการทำงาน บทความนี้ได้รายงานผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งเป็นโรคหอบหืดจากการทำงานพ่นสีข้อต่อท่อน้ำ ใน โรงงานผลิตท่อประปา ผู้ป่วยเป็นชายอายุ 27 ปี ทำงานในโรงงานแห่งนี้เป็นเวลา 11 ปี ไม่เคยมีประวัติภูมิแพ้มาก่อน จนเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมาผู้ป่วยย้ายมาทำงานที่แผนกพ่นสีข้อต่อท่อน้ำ จึงเริ่มมีอาการหอบ เหนื่อยและไอบ่อยขึ้นระหว่างการทำงานในช่วง 6 เดือนหลัง การตรวจร่างกายและการตรวจสมรรถภาพปอด อยู่ในเกณฑ์ปรกติ แต่ผลการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยตนเองระหว่างการทำงานโดยใช้เครื่อง Peak flow meter พบว่ามีค่าผันผวนของ Peak expiratory flow ระหว่างวันมากกว่าร้อยละ 20 การสำรวจสถานประกอบการพบว่า ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสผงสีที่กระตุ้นให้เกิดโรคหืดได้ และเมื่อนำผงสีมาวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการพบว่าผงสีดังกล่าวคือ สารอีพอกซีเรซิน (epoxy resin) ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการย้ายไปทำงานในแผนกบรรจุผลิตภัณฑ์ ร่วมกับให้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นเป็นครั้งคราว หลังจากย้ายรักษาไป 5 เดือนผู้ป่วยยังมีอาการเหนื่อยเป็นบางครั้งเวลาทำงานหนัก แต่มีค่า Peak expiratory flow สูงกว่าช่วงที่ทำ งานแผนกเดิมมาก

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14

วิธีการอ้างอิง