ปัจจัยด้านการยศาสตร์และอัตราความชุกของกลุ่มอาการผิดปรกติ ทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อในพนักงานโรงงานเฟอร์นิเจอร์

ผู้แต่ง

  • พัชริน พรมอนันต์ ชมรมพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย (สาขาภาคเหนือ)
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านการยศาสตร์, กลุ่มอาการผิดปรกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, พนักงานโรงงานเฟอร์นิเจอร์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการยศาสตร์ อัตราความชุกของกลุ่มอาการผิดปรกติทาง ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการยศาสตร์และกลุ่มอาการผิดปรกติดังกล่าว ในพนักงานโรงงานเฟอร์นิเจอร์ จังหวัดลำพูน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 227 คน โดยวิธีการสุ่มตามคุณสมบัติที่กำหนด รวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสังเกตท่าทางการทำงาน 2) แบบสัมภาษณ์การใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน และ 3) แบบสัมภาษณ์กลุ่มอาการ ผิดปรกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านการยศาสตร์ ในส่วนของท่าทางการทำงานร้อยละ 56.96 มีปัญหาด้านการยศาสตร์ที่ต้องมีการติดตามวัดผลและอาจมีความจำเป็นในการออกแบบงานใหม่ ส่วนการใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน พบว่าพนักงานที่ใช้เลื่อยฉลุ ร้อยละ 69.23 และ พนักงานที่ใช้สว่านไฟฟ้า ร้อยละ 98.80 มีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการสัมผัสความสั่นสะเทือน ส่วนอัตราความชุกของกลุ่มอาการผิดปรกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในช่วง 12 เดือนและ 7 วันที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 85.21 และ 50.87 ตามลำดับ และปัจจัยด้านการยศาสตร์เฉพาะในส่วนของท่าทางการทำงานเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการผิดปรกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14

วิธีการอ้างอิง