นโยบายการดูแลสุขภาพระยะกลางในประเทศไทย: ข้อเสนอเพื่อหนทางข้างหน้า

ผู้แต่ง

  • นภัส แก้ววิเชียร สำนักนิเทศระบบการแพทย์ กรมการแพทย์
  • เบญจพร สุธรรมชัย สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์
  • ธัญพร ชื่นกลิ่น วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • นงณภัทร รุ่งเนย วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • วิชาญ เกิดวิชัย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพระยะกลาง, การวิเคราะห์นโยบาย, ข้อเสนอเชิงนโยบาย, สหวิชาชีพ, การดูแลแบบไร้รอยต่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์กระบวนการนโยบาย ค้นหาปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของการพัฒนานโยบายจากส่วนกลางและการนำนโยบายส่วนกลางสู่การปฏิบัติในจังหวัด สังเคราะห์และพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายการดูแลสุขภาพระยะกลางของประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารจากส่วนกลาง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนานโยบาย และผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายระดับจังหวัด ที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และแบบประเด็นคำถามสำหรับการอภิปรายกลุ่ม (focus group) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 – มีนาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานการดูแลระยะกลาง (intermediate care) ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขขับเคลื่อนโดยผู้พัฒนาและผู้นำนโยบายส่วนกลางสู่การปฏิบัติทุกระดับ ร่วมกับสหวิชาชีพ (multidisciplinary) ในลักษณะเครือข่ายบริการตามแผนบริการ (service plan) ที่เน้นผู้สูงอายุ 3 โรคหลัก ประสบความสำเร็จในบางจังหวัด แต่ยังต้องการการพัฒนากระบวนการนโยบายที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ โดยสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายได้ดังนี้ เพิ่มการสื่อสารนโยบายถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ชัดเจน พัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติที่ยืดหยุ่นปรับใช้ได้จริงกับบริบทพื้นที่ ขยายและเติมเต็มบริการ intermediate care ไปสู่กลุ่มโรคอื่นและกลุ่มอายุอื่นที่มีความต้องการจำเเป็นต้องได้รับบริการแบบ intermediate care สนับสนุนการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) บริการ เพื่อสร้างระบบการจ่ายชดเชยค่าบริการให้เป็นกองทุนเฉพาะ บูรณาการระบบให้ถึงระดับที่ไร้รอยต่อ ระหว่าง intermediate care และการดูแลระยะยาว (long term care) ผลักดันการจัดสรรอัตรากำลังแบบสหวิชาชีพที่จำเป็น เหมาะสมกับหอผู้ป่วยหรือมุมผู้ป่วย intermediate care ในระดับโรงพยาบาลชุมชน และควรพัฒนา การบันทึกและส่งต่อข้อมูลการดูแลผู้ป่วย intermediate care ระหว่างโรงพยาบาลระดับต่างๆ ให้เป็นโปรแกรมข้อมูลระบบเดียวกันทุกพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้