อิทธิพลของแรงจูงใจต่อการดำเนินงานเชิงรุก เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ระลอกแรกในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • รุ่งเรือง กิจผาติ สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พินิจ ขอดสันเทียะ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุข, การดำเนินการเชิงรุกเพื่อป้องกัน, โรคโควิด 19, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจต่อการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้ องกัน- โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกแรกในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน 2,700 คน เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับแรงจูงใจและการดำเนินงานเชิงรุก ได้ค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่ าของครอนบาค เท่ากับ 0.717 และการดำเนินงานเชิงรุก เท่ากับ 0.917 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยอย่างง่าย (simple regression) ผลวิจัยพบว่าแรงจูงใจ ในการทำงานเพื่อป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกแรกในชุมชนของ อสม. ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด (Mean=4.71, SD=0.39) สำหรับการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกแรก ในชุมชนของ อสม. ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (Mean=2.73, SD=0.34) และแรงจูงใจในการทำงานมี ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (r=0.399) และมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกแรก ในชุมชนของ อสม.ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายได้ ร้อยละ 15.90 (adj R2=0.159)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2