การศึกษาผลการใช้รูปแบบบริการที่เหมาะสมสำหรับ การป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • เมตตา คำพิบูลย์ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สุมนี วัชรสินธุ์ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, การป้องกันควบคุมโรค, ชุดมาตรการควบคุมโรค

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการใช้รูปแบบบริการที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method research design) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยการรวบรวมข้อมูลจากรายงานการให้บริการแก่ผู้ป่วยตามรูปแบบบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในสถานบริการระดับอำเภอจาก 12 เขตสุขภาพ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการทำสนทนากลุ่มกับทีมสหวิชาชีพจำนวน 63 ราย ผลการวิจัยพบว่า การให้บริการป้องกันควบคุมแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องการบูรณาการทั้ง 4 มาตรการเข้าด้วยกัน ได้แก่ (1) การสนทนาสร้างแรง-จูงใจ/ให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ (motivational interviewing) (2) การจัดการ home blood pressure monitoring (3) โปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานในชุมชน (Thai diabetes prevention program) และ (4) การจัดการอาหารที่เหมาะสมสำหรับป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (recommended diet for NCD) ดังจะเห็นได้จากภายหลังการให้การบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ครบทั้ง 4 มาตรการ พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 63.90 และกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ร้อยละ 87.46 ดังนั้นการใช้รูปแบบบริการที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงควรจัดให้มีการบริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีการกระจายองค์ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการการให้บริการ ตลอดจนการประยุกต์รูปแบบการให้บริการให้สอดคล้องบริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดรูปแบบการให้บริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เหมาะสมกับการบริการ NCD Clinic อย่างเป็นระบบต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง