การพัฒนากระบวนการการบริการเชิงรุก ในผู้ป่วยระยะท้ายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นิยากร อินทะขัน กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
  • วัชราภรณ์ ทองมี กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
  • เจริญพงษ์ ประสีระเก กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบริการเชิงรุก, ผู้ป่วยระยะท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการบริการเชิงรุกในผู้ป่วยระยะท้ายโดยการมีส่วน-
ร่วมของชุมชนในพื้นที่อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ
วิเคราะห์สถานการณ์ ระยะการพัฒนา ระยะประเมินผล ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย (1) ผู้ป่วยระยะท้าย จำนวน 30 คน
(2) ญาติผู้ดูแล จำนวน 30 คน (3) บุคลากรสาธารณสุขจำนวน 19 คน (4) ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครในชุมชนจำนวน
13 คน และ (5) บุคลากรในองค์กรของชุมชนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 105 คน ดำเนินการวิจัยระหว่าง
เดือน ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) แบบคัดกรองผู้ป่ วยระยะท้ายสำหรับ
อาสาสมัครชุมชน (2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่ วยและครอบครัว (3) แนวทางการสัมภาษณ์สำหรับผู้ป่ วย
และญาติผู้ดูแล (4) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และ (5) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่ วยระยะท้ายวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า (1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบปัญหายังมีผู้ป่ วยระยะท้ายใน
ชุมชนที่ขาดการเข้าถึงบริการไม่ได้รับการดูแลและการจัดการอาการอย่างเหมาะสมและครอบคลุม (2) ระยะการ
พัฒนา ได้วงจรการพัฒนาคุณภาพเกี่ยวกับการค้นหาและคัดกรองผู้ป่ วยโดยอาสาสมัครในชุมชน การพัฒนาสมรรถนะ
บุคลากรผู้ให้บริการ การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่ วยระยะท้าย และการติดตามเยี่ยม/การส่งต่อ/การปรึกษาผ่าน
แอปพิเคชั่นไลน์ (3) ระยะประเมินผลพบว่า การค้นหาและคัดกรองผู้ป่ วยโดยอาสาสมัครในชุมชนส่งผลให้ผู้ป่ วย
ระยะท้ายทุกคนสามารถเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น ได้รับการดูแลและจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเหมาะสม ผู้ป่ วย
ระยะท้ายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านทุกราย ผู้ป่ วยระยะท้ายสามารถเข้าถึงยาบรรเทาอาการปวดชนิด opioiods คิด
เป็นร้อยละ 90.9 ผู้ป่ วยมีความพึงพอใจในบริการ คิดเป็นร้อยละ 88.7 และครอบครัวมีความพึงพอใจในบริการ คิด
เป็นร้อยละ 90.2 จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการให้บริการเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถช่วยให้ค้นหา
ผู้ป่ วยในชุมชนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการ ให้ผู้ป่ วยได้รับการดูแลที่รวดเร็ว และได้รับการจัดการอาการไม่สุขสบายได้
อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-31

วิธีการอ้างอิง