ต้นทุนที่ไม่ใช่ต้นทุนทางการแพทย์และคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคในช่องปาก

ผู้แต่ง

  • กนกอร พูลศิริ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ณัฏฐิญา ค้าผล ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศดานันท์ คำฝอย กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเหนือคลอง

คำสำคัญ:

ต้นทุนที่ไม่ใช่ต้นทุนทางการแพทย์, คุณภาพชีวิต, โรคในช่องปาก, เหงือกอักเสบ, ปริทันต์อักเสบ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนที่ไม่ใช่ต้นทุนทางการแพทย์และคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคใน ช่องปาก โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในชุมชน จังหวัดกระบี่ ระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2562 จำนวน 143 คน ด้วยแบบสอบถามต้นทุนที่ไม่ใช่ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ แบบประเมินคุณภาพชีวิต ทั่วไป (EQ-5D-5L) และแบบประเมินคุณภาพชีวิตแบบเฉพาะเจาะจงกับโรคในช่องปาก ผลการศึกษาพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างเป็นโรคเหงือกอักเสบร้อยละ 71.33 เป็นโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 20.98 และใส่ฟันปลอมทั้งปากร้อยละ 0.70 กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.35 มีอายุเฉลี่ย 40.04±14.45 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 45.07 และใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจร้อยละ 51.41 ค่าคะแนนอรรถประโยชน์เฉลี่ยจากแบบประเมิน คุณภาพชีวิตทั่วไปเท่ากับ 0.96±0.05 และผลประเมินคุณภาพชีวิตในช่องปากของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีคะแนนผลก ระทบโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 4.42±8.11 เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างตามกลุ่มย่อยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพ ในช่องปากปกติ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคเหงือกอักเสบ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบมีร้อยละของคะแนน ผลกระทบโดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 2.90±5.34, 4.50±8.37 และ 4.80±8.22 ตามลำดับ สำหรับต้นทุนที่ไม่ใช่ต้นทุน ทางการแพทย์เมื่อต้องทำการรักษาโรคในช่องปาก ประกอบด้วยต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ ได้แก่ ต้นทุน ค่าเดินทางเฉลี่ย 83.04±131.59 บาท และต้นทุนค่าอาหารที่เพิ่มขึ้นจากการไปรักษาพยาบาลเฉลี่ย 73.50±80.46 บาท และต้นทุนทางอ้อม ได้แก่ ต้นทุนค่าเสียโอกาสของผู้ป่ วยเฉลี่ย 344.94±232.22 บาท ต้นทุนค่าเสียโอกาสของ ผู้ดูแลเฉลี่ย 302.61±416.24 บาท ดังนั้น โรคในช่องปากนอกจากจะกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยแล้วยังมี ผลกระทบทำให้ผู้ป่ วยต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลปกติ ที่ผู้กำหนดนโยบายทางการแพทย์ ควรใช้เป็นข้อมูลในการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของการรักษาโรคในช่องปากต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ