ปัจจัยของการเสียชีวิตและระบบทางเดินหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลัน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปี 2563

ผู้แต่ง

  • สมิทธ์ เกิดสินธุ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน, ภาวะตับวายเฉียบพลัน, ภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการเสียชีวิตและภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวกับ ปัจจัยต่างๆ ในผู้ป่ วยโรคตับอักเสบเฉียบพลันในหอผู้ป่ วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยแบบภาคตัดขวาง ผู้เข้าร่วมการศึกษา คือ ผู้ป่ วยโรคตับอักเสบเฉียบพลันในหอผู้ป่ วยอายุรกรรมของโรงพยาบาลที่รับการรักษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2562 – 31 มีนาคม 2563 โดยเก็บข้อมูลประวัติ การรักษาและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่ วย การวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน เช่น ไคสแควร์ และการถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่ วยโรคตับอักเสบเฉียบพลันทั้งหมด 729 ราย เป็น ผู้ป่ วยที่มีระบบหายใจล้มเหลว 129 ราย (ร้อยละ 17.7) และเสียชีวิต 120 ราย (ร้อยละ 16.5) จากการวิเคราะห์ ข้อมูลพบว่า ผู้ป่ วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ป่ วยที่มีภาวะตับวายเฉียบพลัน และผู้ป่ วยที่มีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลตั้งแต่ 5 วันขึ้นไป มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ พบว่าผู้ป่ วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และผู้ป่ วยที่มีภาวะตับวายเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์ที่จะเสียชีวิตสูงขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ภาวะตับวายเฉียบพลันมีขนาดของความสัมพันธ์สูงที่สุด ทั้งในเรื่องการเกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว (ORadj=9.2; 95%CI=2.7-30.9) และการเสียชีวิต (ORadj=3.9; 95%CI=1.3-12.1) ดังนั้น ผู้ป่ วยในโรงพยาบาลที่มีภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่ วยตับวายเฉียบพลัน หรือผู้ป่ วยที่นอนโรงพยาบาลนานตั้งแต่ 5 วันขึ้นไป จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลว และ เสียชีวิตได้ ซึ่งควรให้ความสำคัญในการดูแลผู้ป่ วยกลุ่มน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ