การพัฒนารูปแบบบริการช่องทางด่วนสำหรับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในบริการระดับปฐมภูมิ กรณีศึกษา: ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • นิตยา บัวสาย ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
  • ชลิตดา ขันแก้ว ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
  • พลอย พงษ์วิทยภานุ ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
  • นิภา เชื้อไชย ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
  • มะลิจันทร์ เพียรเสมอ ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

บริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง, การบริการระดับปฐมภูมิ, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในบริการระดับปฐมภูมิ ทำการศึกษา ณ ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่างเดือนมกราคม 2557 – เมษายน 2560 ผู้ให้ข้อมูลหลักมี จำนวน 52 คน ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแลในครอบครัว (2) กลุ่มบุคลากรด้านสุขภาพ และ (3) กลุ่มบุคลากรสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ผู้ร่วมกระบวนการวิจัย จำนวน 30 คน ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้ป่วยและผู้ดูแลในครอบครัว (2) กลุ่มบุคลากรด้านสุขภาพ และ (3) กลุ่มบุคลากรสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน กระบวนการวิจัย ประกอบด้วย 4 ระยะ มีดังนี้ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบบริการ ระยะที่ 3 การนำใช้รูปแบบบริการ และการประเมินผลรูปแบบการดูแล ระยะที่ 4 การปรับปรุงรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในบริการระดับปฐมภูมิ ที่ครอบคลุมทุกระยะการดำเนินโรค และเชื่อมโยงของการบริการสุขภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ไปจนถึงการดูแลระยะยาวในชุมชน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ (1) การป้องกันในระดับปฐมภูมิ (2) การเรียนรู้ของชุมชนในการสร้างความตระหนักต่อโรคและการรับรู้สัญญาณอันตรายของหลอดเลือดสมอง (3) การตอบสนองของระบบการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน (4) การส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาล (5) การดูแลระยะหลังการเจ็บป่วย ผลลัพธ์การนำรูปแบบไปใช้พบว่า (1) ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ:สามารถตอบสนองอย่างรวดเร็วและประเมินผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องจากร้อยละ 60.00 เป็นร้อยละ 100.00 (2) ตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์: ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่จากร้อยละ 26.50 เป็นร้อยละ 0.00 (3) ตัวชี้วัดด้านภาวะแทรกซ้อน: ไม่มีผู้ป่วยที่ดูแลต่อเนื่องที่บ้านพลัดตกหกล้ม และไม่มีแผลกดทับ (4) ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาว ประเมินโดยใช้Stroke Specific Quality of life พบว่า ไม่มีปัญหา ไม่ต้องการความช่วยเหลือ ร้อยละ 66.60 (5) เพิ่มผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี โดยการประเมินหลังกลับไปดูแลต่อเนื่องในชุมชน 1 ปี โดยใช้ modified Rankin scale พบว่า อาการดีขึ้นและไม่พบความผิดปกติหลงเหลือ ร้อยละ 55.50

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้