อิทธิพลของการบริหารงานตามแบบ McKinsey 7’s Framework ที่มีต่อหลักธรรมาภิบาล ในโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ ไชยศรี สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • อัจฉรา จินวงษ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • อัจฉรา จินวงษ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สังคม ศุภรัตนกุล สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, หลักนิติธรรม, หลักคุณธรรม, หลักความโปร่งใส, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารตามแบบ McKinsey 7’s Framework ต่อหลัก ธรรมาภิบาล และอิทธิพลขององค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลที่มีต่อหลักนิติธรรม หลักคุณธรรมและหลักความโปร่งใส ในโรงพยาบาลอุดรธานี โดยใช้แบบการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรใน โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 353 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Structural Equation Model และ Path Analysis ผลการวิจัยครั้งนี้ได้ค้นพบตัวแปรอิสระทีมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ดังนี้ การบริหารงานตามแบบ McKinsey 7’s Framework มีอิทธิพลต่อหลักธรรมาภิ บาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (γ=0.87) โดยมีอำนาจในการพยากรณ์หลักธรรมาภิบาลได้ร้อยละ 76.0 (R2 =0.76) และเมื่อพิจารณาจำเพาะในองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาล พบว่า การบริหารงานตามแบบ McKinsey 7’s Framework มีอิทธิพลทางตรงต่อหลักนิติธรรม (γ=0.78) หลักการมีส่วนร่วม (γ=1.11) หลักความคุ้มค่า (γ=1.10) และหลักความโปร่งใส (γ=0.28) ในขณะเดียวกันยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อหลักความรับผิดชอบ (γ=0.66) หลักความ โปร่งใส (γ=0.44) และหลักคุณธรรม (γ=0.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลที่ มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อหลักความโปร่งใส คือ หลักนิติธรรม (β=0.56) ในส่วนขององค์- ประกอบหลักธรรมาภิบาลที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อหลักคุณธรรม ประกอบด้วย หลักนิติธรรม (β=0.23) และหลักความโปร่งใส (β=1.21) นอกจากนี้ยังพบว่า หลักคุณธรรมยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการ บริหารงานตามแบบ McKinsey 7’s Framework (γ=0.76) หลักนิติธรรม (β=0.54) และหลักการมีส่วนร่วม (β=0.73) ซึ่งสามารถพยากรณ์หลักนิติธรรมได้ร้อยละ 61.0 (R2 =0.61) หลักความโปร่งใสได้ร้อยละ 63.0 (R2 =0.63) และหลักคุณธรรมได้ร้อยละ 67.0 (R2 =0.67)

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

รัชยา ภักดีจิตต์. ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารภาครัฐแลภาค เอกชน.กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีตามระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการ บ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: กองกลางสำนักงาน ก.พ.; 2542.

จุฑารัตน์ สีสูงเนิน. หลักธรรมาภิบาลในองค์กร. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 18 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://sites.google.com/site/aujutaratsisungnone.

มานวิภา อินทรทัต, อาจยุทธ เนติธนากูล. โครงการศึกษา ทบทวนสถานการณ์ธรรมาภิบาลระบบสุขภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551;2(3):443-9. 5. ธนิกานต์ ศรีจันทร์, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กับการพัฒนาประเทศไทย. JOMLD 2566,8(1); 427-49.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. โรงพยาบาลคุณธรรม [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 3 ส.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://pr.moph.go.th/iprg/include/ admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=72511

Nejad TA, Behbodi MR, Ravanfar MM. Analyzing organizational structure based on 7s model of McKinsey. Int J Acad Res Bus Soc Sci 2015;5(5):43-55.

Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1973.

เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. การใช้โปรแกรมลิสเรลในงานวิจัย ทางการพยาบาล. พยาบาลสาร 2558;42(1):159-63.

อรมณี ภัทรทิพากร. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนา คุณภาพโรงพยาบาลของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2563;5(1):19-24.

นัทธมณ พันธ์แก้ว, จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ปุรดา วิปัชชา, วัชรพงษ์ อินทรวงศ์. รูปแบบเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA ในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 8. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 2562;15(1):349-70.

Miller RC, de los Santos LEF, Schild SE, Foote RL. Organizational culture and proton therapy facility design at the Mayo Clinic. Int J Part Therapy 2014;1(3):671- 81.

ยุพาพร รูปงาม. การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบ ประมาณในการปฏิรูประบบราชการ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม] กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2545.

Dixon J, Belnap C, Albrecht C, Lee K. The importance of soft skills. Corp Finan Rev 2010;14(6):35-47.

Masfi A, Sukartini T, Hidayat A. Performance improvement model utilizing the Mckinsey 7S approach for public health centers in Sampang regency of Indonesia. Int J Sci Tech Res 2020;9(3):5073-6.

สุทิศา ชื่นเขียว, สังคม ศุภรัตนกุล, พัชราภรณ์ ไชยศรี. การบริหารองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษา: โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาล อุดรธานี 2564;29(1):82-95.

สุคนธ์ทิพย์ โพธิ์ หล้า. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนาหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์ 2558;16(2):97-108.

ทิพวรรณ์ ขำโท้. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณธรรมและความโปร่งใส การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษาผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียภายนอกของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุโขทัย. วารสารโรคและภัยสุขภาพ 2562;13(1);25-33.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ