ต้นทุนโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยในโรคโควิด-19 ประเทศไทย: กรณีศึกษาโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • อรทัย เขียวเจริญ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • ชัชชน ประเสริฐวรกุล สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • อภิรนันท์ พงจิตภักดิ์ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • ธันวา ขัติยศ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • ทยาภา ศรีศิริอนันต์ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • พงษ์ลัดดา หลำพู่ สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • อรรศธร ศุกระชาต สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย
  • ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร สํานักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ
  • ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, ต้นทุนผู้ป่วยใน, ต้นทุนโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนของโรงพยาบาลสหรับดูแลผู้ป่ วยในโรคโควิด-19 ในปีงบประมาณ 2564 และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนของการดูแลผู้ป่ วยในโรคโควิด-19 วิเคราะห์ต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการ คาดประมาณต้นทุนด้วยวิธีมาตรฐานจากบนลงล่าง และวิเคราะห์ต้นทุนรายผู้ป่ วยด้วยวิธีต้นทุนจุลภาค โดยใช้ โปรแกรม (healthcare service cost estimation, HSCE) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขที่สมัคร ใจเข้าร่วมศึกษาต้นทุน จนวน 21 แห่ง เป็น โรงพยาบาลศูนย์ 9 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 8 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง เลือกผู้ป่ วยโรคโควิด-19 จากรหัสโรค U07.1, U07.2, B97.2 จากนั้นนข้อมูลมาจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ไทย ฉบับ 6.3 และแบ่งผู้ป่ วยตามกลุ่ม DRG (diagnosis related group) เป็น 6 กลุ่ม คัดข้อมูลตามเกณฑ์ได้ข้อมูล ผู้ป่ วย 87,145 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ากลาง และ สถิติเชิงทนายด้วยสมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่ วยในโรคโควิด-19 รักษาในโรงพยาบาลศูนย์มากทีสุด ่ ร้อยละ 68.6 อายุเฉลี่ย 35.1 ปี (SD=16.6) นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 11.0 วัน (SD=4.1) เป็นผู้ป่ วยกลุ่ม DRG สังเกตอาการ มากที่สุด 49,225 ราย ร้อยละ 56.5 รองลงมา คือ กลุ่ม DRG โรคปอดอักเสบ 21,385 ราย ร้อยละ 24.5 และกลุ่ม DRG โรคระบบทางเดินหายใจ 12,271 ราย ร้อยละ 14.1 โรงพยาบาลมีต้นทุนในการดูแลผู้ป่ วยใน โรคโควิด-19 เฉลี่ย 22,216 บาทต่อราย (SD=42,070) ค่ากลาง 13,847 บาท โรงพยาบาลทั่วไปมีต้นทุนเฉลี่ยต่อ รายสูงสุด 25,653 บาท (SD=72,135) รองลงมาคือ โรงพยาบาลศูนย์ 21,068 บาท (SD=20,276) และ โรงพยาบาลชุมชน 15,984 (SD=13,968) ต้นทุนในการดูแลผู้ป่ วยกลุ่ม DRG รุนแรงเฉลี่ย 72,327 บาทต่อราย (SD=54,027) ค่ากลาง 61,326 กลุ่ม DRG โรคปอดอักเสบ 31,259 บาท (SD=46,035) ค่ากลาง 21,900 กลุ่ม DRG สังเกตอาการ 17,022 บาทต่อราย (SD=39,536) ค่ากลาง 11,437 การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนของการ ดูแลผู้ป่ วยในโรคโควิด-19 พบว่า ขนาดของโรงพยาบาล กลุ่ม DRG รุนแรง อายุผู้ป่ วย ต้นทุนวัสดุการแพทย์ ต้นทุน ค่าห้องและค่าอาหาร และต้นทุนค่าบริการพยาบาล สามารถอธิบายต้นทุนผู้ป่ วยในโรคโควิด-19 ต่อราย ได้ร้อยละ 80.9 อย่างมีนัยสคัญทางสถิติ (p<0.01) โดย (1) โรงพยาบาลทั่วไปส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.0 เมื่อ เทียบกับโรงพยาบาลชุมชน (2) กลุ่มผู้ป่ วย DRG รุนแรงส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 86.0 เมื่อเทียบกับกลุ่ม สังเกตอาการ (3) อายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.3 และ (4) ต้นทุนวัสดุการแพทย์ ต้นทุนค่า ห้องค่าอาหาร และต้นทุนค่าบริการพยาบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ส่งผลให้ต้นทุน ผู้ป่ วยในโควิด-19 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1, 0.3 และ 0.3 ตามลดับ ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษานอกจากจะได้ทราบต้นทุนการให้บริการที่แท้จริงแล้วยัง สามารถนไปเป็นข้อมูลประกอบการขอรับเงินจัดสรรงบประมาณโรคโควิด-19 ตลอดจนวางแผนทรัพยากรทางการ เงินของโรงพยาบาลได้ และผลกระทบของปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการบริการสามารถนไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ประสิทธิภาพการให้บริการ ลดต้นทุนการบริการผู้ป่ วยโรคโควิด-19 หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์. ค่ารักษาพยาบาลโรคโควิด-19. วารสารกรมการแพทย์ 2564;46(2):5-9.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดท รายวัน 2021 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ26 ต.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ ผู้เสียชีวิตจากเชื้อCOVID-19 ในประเทศไทย 2021 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 ต.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=death-statistics.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 ต.ค. 2564]. กรมควบคุมโรค; 2564 แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_110864. pdf

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทางห้องปฏิบัติการ SARS-COV-2 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ11 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://nih.dmsc.moph.go.th/data/data/covid/ COVID19.pdf

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สธ.เผย ยาและเวชภัณฑ์รองรับโควิด-19 มีเพียงพอจัดหา “ยาฟาวิพิราเวียร์” 16 ล้านเม็ด ก.ค.นี้[อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ11 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://pr.moph.go.th/?url =pr/detail/2/04/161248/

กรมการแพทย์. แนวทางการจัดบริการผู้ป่วยสำหรับสถานพยาบาลกรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ฉบับวันที่ 29 กันยายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://nih.dmsc. moph.go.th/data/data/covid/COVID19.pdf

สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานผลการศึกษาโครงการการประเมินผลกระทบของ โควิด-19 ต่อต้นทุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข; 2564.

อรทัย เขียวเจริญ, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, ธันวา ขัติยศ, ชัชชน ประเสริฐวรกุล, ทยาภา ศรีศิริอนันต์, พงษ์ลัดดา หล่ำพู่. วิธีคาดประมาณต้นทุน 6 ขั้นตอนในการศึกษาต้นทุนรายโรค ระยะ ที่1. สรรพสาร สมสส (HISPA Compendium) 2566;1(2):12-27.

อรทัย เขียวเจริญ, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, ธันวา ขัติยศ, เยาวลักษณ ์ แหวนวงษ์, ชลธิดา ใบม่วง, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. วิธีวิเคราะห์ต้นทุนรายโรคสำหรับประเทศไทย วิธีต้นทุนจุลภาค. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข2563;14(2): 156-174.

สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. โปรแกรม HSCE (HealthCare Service Cost Estimation). กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์; 2566.

สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การให้รหัสโรค กรณี COVID-19 และวัคซีน COVID-19[อินเทอร์เน็ต].[สืบค้นเมื่อ27ต.ค.2564].แหล่งข้อมูล: https://tcmc.or.th/main/phocadownload/Covid19Code/ code4covid-19.pdf

สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำข้อเสนอทางเลือกในการพัฒนากลไกการจ่ายเงินของระบบบริการตามสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยใน. นนทบุรี: สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564.

อรทัย เขียวเจริญ, ชัชชน ประเสริฐวรกุล, เฌอมาณัฎฐ์ ศรีวงค์ชัย, ธันวา ขัติยศ, ทยาภา ศรีศิริอนันต์, พงษ์ลัดดา หล่ำพู่, et al. ต้นทุนต่อหน่วยผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในจากการ ศึกษาต้นทุนรายโรคระยะที่1. สรรพสาร สมสส (HISPA Compendium) 2566;1(6):77-99.

สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ผลการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรค ระยะที่1 ปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย; 2564.

อรทัย เขียวเจริญ, ธันวา ขัติยศ, ชลธิดา ใบม่วง, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, เยาวลักษณ ์ แหวนวงษ์, ศุภสิทธิ ์พรรณารุโณทัย.วิธีวิเคราะห์ต้นทุนรายโรคสำหรับประเทศไทย:วิธีต้นทุนจุลภาค. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563;14(2):156 - 174.

กรมบัญชีกลาง. หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19. กรุงเทพมหานคร: กรมบัญชีกลาง; 2565.

สำนักงานประกันสังคม. ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่139, ตอนพิเศษ 133 (ลงวันที่13 มิถุนายน 2565).

สำนักงานประกันสังคม.หลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (coronavirus disease 2019 (COVID-19)) สำหรับการดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (home isolation) และการดูแลรักษา การแยกกักในชุมชน (community isolation), (2565). นนทบุรี: สำนักงานประกันสังคม; 2565.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แจ้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราจ่ายการให้บริการโรค

โควิด-19 ใน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2565.

Kumar RK. Technology and healthcare costs. Annals of Pediatric Cardiology 2011;4(1):84-6.

Monegain B. Technology helps drive high cost of U.S. healthcare. Healthcare IT News [Internet]. 2012 [cited 2021 Oct 17]. Available from: https://www.healthca-reitnews.com/news/technology-helps-drive-high-cost-us-healthcare

McCabe JJ, Cournane S, Byrne D, Conway R, O’Rior¬dan D, Silke B. Age and the economics of an emergen¬cy medical admission—what factors determine costs? QJM: An International Journal of Medicine 2017;110(2): 83–8.

Rashidi B, Kobewka DM, Campbell DJT, Forster AJ, Ronksley PE. Clinical factors contributing to high cost hospitalizations in a Canadian tertiary care centre. BMC Health Services Research 2017;17(1):777.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้